การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการนิเทศแบบ NPSE ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

สายสุนีย์ เทพสุขเอี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบ NPSE  2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1. สร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศ 2.นำรูปแบบการนิเทศไปใช้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ (Needs Assessment: N) 2) วางแผนและออกแบบการนิเทศ(Plan: P) 3) ดำเนินการนิเทศ(Supervision: S) และ 4) ประเมินผลการนิเทศ(Evaluation: E) กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 14 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบ NPSE  2) แบบวิเคราะห์การพัฒนารูปแบบการนิเทศ 3) แบบสัมภาษณ์ความต้องการจำเป็น 4) แบบตรวจสอบความสอดคล้อง 5) แบบทดสอบการจัดการเรียนรู้ 6) แบบประเมินพฤติกรรม 7) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และ 8) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า


1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศแบบ NPSE  มีความสอดคล้อง ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และสามารถนำไปใช้จริงในภาคปฏิบัติ โดยมีค่าดัชนีระหว่าง 0.80-1.00


2. ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของครู  หลังได้รับการนิเทศด้วยรูปแบบการนิเทศแบบ NPSE มีคะแนนผลการทดสอบเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศด้วยรูปแบบการนิเทศแบบ NPSE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  


3. ครูมีความพึงพอใจของต่อรูปแบบการนิเทศแบบ NPSE อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\overline{x}= 4.46)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ชัชรีย์ บุนนาค. (2561). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและข้อเสนอแนะด้าน ยุทธศาสตร์ การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564–2568. ใน “Graduate School Conference 2018”.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 (น. 238). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ทิพาชา นวลหลง, ยงยุทธ์ อินทจักร์, และสุกัญญา รุจิเมธาภาส. (2559). สภาพและปัญหา ในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 เครือข่ายกลุ่ม โรงเรียน ดาราราชวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์].

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2551). รายงานการวิจัยสมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : คำสมัย.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ.(2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11 กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วชิรา เครือคำอ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร].

สรชัย พิศาลบุตร. (2553). การทำวิจัยในชั้นเรียน เรียนรู้กันได้ใน 5 ชั่วโมง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สามารถ ทิมนาค. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ฐานข้อมูลการวิจัย Digital "วช”.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. พิมพ์ครั้งที่ 1กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุธาสินี คุ้มพะเนียด. (2560). แนวทางการพัฒนาครูระดับประถมศึกษาในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

อัจฉราภรณ์ สิงห์สม. (2561). แนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

อมฤดา พงษ์ศักดิ์. (2562). การโค้ชแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยตามแนวคิด Active Learning ในการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร].

อาริตา สาวดี. (2553). สภาพปัญหาและความต้องการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์].

Knowles, M. S. (1990). The Adult Learner: a neglected species (4th edition) Houston : Gulf Publishing.

Kruse, K. (2002). Introduction to Introductional Design and the ADDIE Model [Online]. Accessed 30 December 2008. Available from http://www.e-learningguru.com/articles/art2_1html.

Roger, P. and Barry, J. (2007). Mentoring – Coaching: A Handbook for EducationProfessionals. Open University Press McGraw-Hill Education. England: Berkshire.

SEAMEO. (2010). Status of ICT Integration in Education in Southeast Asian Countries: Bangkok. Bangkok: The Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO) Secretariat.