การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษของนักศึกษา วิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ดิศราพร สร้อยญาณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ประเภทของข้อผิดพลาดในงานเขียนเรียงความ (2) เพื่อศึกษาสาเหตุของข้อผิดพลาดในงานเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษ และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน การเขียนในรายวิชาการเขียนเบื้องต้นสำหรับครูภาษาอังกฤษ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบการเขียนย่อหน้าภาษาอังกฤษ 2 หัวข้อ ได้แก่ At present และ My future plan โดยจำกัดความยาวในการเขียนเรื่องละ 150-200 คำ เก็บรวบรวมข้อมูลตรวจสอบข้อผิดพลาดในการเขียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าประเภทของข้อผิดพลาดที่พบมี 19 ประเภทโดยข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องหมายวรรคตอน (punctuation) คำกริยาผิดรูปกาล (verb tense) การใช้รูปคำผิด (wrong form) การเขียนประโยคต่อเนื่อง (run-on) และประโยคไม่สมบูรณ์ (sentence fragment) ตามลำดับ สาเหตุของข้อผิดพลาดที่พบนี้เกิดจากอิทธิพลของภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาแม่ ถ่ายโอนสู่ภาษาเป้าหมายทั้งด้านคำศัพท์ ไวยากรณ์ และโครงสร้างประโยค ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาการเขียนเบื้องต้นสำหรับครูภาษาอังกฤษโดยมีการออกแบบกิจกรรมและแบบฝึกหัดที่เหมาะสมโดยเน้นการแก้ไขข้อผิดพลาดที่พบจากงานวิจัยนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวัน สังสีแก้ว. (2561). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กะรัตเพชร คงรอด. (2560). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดด้านการใช้คำในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร].

เกศิณี บำรุงไทย. (2554). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษระดับย่อหน้าของนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ฐิติยา เชาวน์ชื่น. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากเอกสารจริง โดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบเน้นภาระงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศิลปากร]. DSpace JSPUI. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1404/1/56254308.pdf

ฑีรณัท ขันนาค และสุทัศน์ นาคจั่น (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(3), 44-54.

ธนิษฐา นาคสวัสดิ์. (2541). การศึกษาความคิดเหก็นเกี่ยวกับข้อบกพร่องในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาผู้ใหญ่สายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กรมการศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์. ค.ม. : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

นวลทิพย์ มหามงคล. (2549). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในงานเขียนของนิสิตที่เรียนวิชา 0015102 ภาษาอังกฤษ II มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารปาริชาต. 20 (1), 5-11.

นันทนิตย์ บุตรปาละ. (2563). การพัฒนาทักษะการฟัง–พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเลยโดยใช้สถานการณ์จำลอง. Journal of Education, Mahasarakham University, 14 (1), 98-108.

นิภาวรรณ พุทธสงกรานต์. (2550). ข้อบกพร่องในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8 (1), 44-51.

พิชญ์สินี ขาวอุไร. (2545). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษานักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ภาษาปริทัศน์, 20 (1), 137-155.

รณวีร์ พาผล, จารุณี นาคเจริญ และณพัชญาฐ์ สุขพัชราภรณ์. (2565). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ: กรณีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. Phimoldhamma Research Institute Journal, 9 (1), 1-13.

รังสรรค์ จันต๊ะ. (2541). เอกสารประกอบการสอนวิชา ศท130 : ภาษาไทย. เชียงใหม่ : คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ลดาวรรณ ฝาระมี และ ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยโครงงาน. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4 (พิเศษ).

สุคนธา ฟูสุวรรณ. (2562). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่4 สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9. (น. 275-285)มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัจฉรา เพ่งพานิช. (2556). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฮาสีด๊ะ ดีนามอ, พูนสุข อุดม, และศิริรัตน์ สินประจักษ์ผล (2553). การศึกษาความสามารถในการฟัง – พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ คีธ จอห์นสัน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 69-81.

Akbar, M., Pathan, H., & Shah, S. W. A. (2018). Problems Affecting L2 Learners’ English Writing Skills: A Study of Public Sector Colleges Hyderabad City, Sindh, Pakistan. Language in India. 18 (5), 7-26.

Amiri, F. & Puteh, M. (2017). Error analysis in academic writing: a case of international post graduate students in Malaysia. Advances in Language and Literary Studies, 8(4), 141-145.

Camilleri, G. (2004). Negative Transfer in Maltese Students’ Writing In English. Journal of Maltese Education Research, 2(1), 3-12.

Chintaradeja, P. (2020). An error analysis in paragraph writing in academic writing class of Thai undergraduate students, Rajamangala University of Technology. Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 31(2), 64-76.

Corder, S. P. (1981). Error analysis and interlanguage. Oxford: Oxford University Press.

Gonca, A. (2016). Do L2 writing courses affect the improvement of L1 writing skills via skills transfer from L2 to L1?. Academic Journals, 11(10), 987-997. https://doi.org/ 10.5897/ERR2016.2743

Odlin, T. (1989). Language transfer: Crosslinguistic influence in language learning. Cambridge: Cambridge University Press.

Palmer, H. E. (1965). The principles of language study. London: Oxford University Press.

Phosa, S. (2020). A Study of English Writing Skills of L2 Students with Blended Learning Approach. [Master of Education, Naresuan University]. NU Intellectual Repository. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1551

Pongsukvajchakul, P. (2019). Error analysis in English paragraph writings of Thai university students. Udon Thani Rajabhat University Journal of Humanities and Social Science. 8(2), 141-155.

Selinker, L. (1972). Interlanguage. In J. Richards (Ed.), 1984/1997. Error analysis: Perspectives on second language acquisition, (pp. 31-54). London: Longman.

Sompong, M. (2014). Error analysis. Thammasat Review. 16(2), 109-127.

Waelateh, B., Boonsuk, Y., Ambele, E. A., & Jeharsae, F. (2562). An analysis of the written errors of Thai EFL students’ essay writing in English. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 25(3), 55-82.