ประเมินโครงการส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ

Main Article Content

สิริพรรณ หวังอีน
สมปอง รักษาธรรม
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) กระบวนการ (Process Evaluation) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 41 และผู้เรียนจำนวน 297 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 342 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


  ผลการวิจัยสรุปดังนี้


1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกเรื่อง


2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกเรื่อง


3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง


4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการโครงการส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่องผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ อยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลานันท์ บุญกล้า. (2559). ประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองปลาซิว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา].

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2557). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณลักษณะส่วนบุคคลต่อระดับความคิดสร้างสรรค์. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 51(3), 1-10.

โฉมยงค์ คงประดิษฐ์. (2557). ประเมินโครงการเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับนานาชาติโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์.

ธเนศ ปานอุทัย. (2556). ประเมินโครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนวัดบางหลวง. นครปฐม: โรงเรียนวัดบางหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

นิยม แสงวงศ์. (2560). ประเมินโครงการส่งเสริมการทำวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. http://www.ivene4.ac.th/home/images/tiean/tsis.pdf.

นุชา สระสม. (2558). การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้หลักสูตรเกษตรอินทรีย์ตามวิถีภูมิปัญญาไทย โรงเรียนวัดนินสุขาราม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2(2), 334-340.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้ CIPP and CIPIEST Evaluation Models:Mistaken and Precise Concepts of Applications. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 7-24.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). นโยบายการบริหารจัดการอาชีวศึกษา. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). การจัดการนวัตกรรมสําหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.

สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี. http://cabinet.thaigov.go.th/bb_main31.htm.

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Oldham, G. R., & Cummings, A. (1996). Employee creativity: Personal and contextual factors at work. Academy of Management Journal, 39(3), 607–634.

Stufflebeam, D. L. (1983). The CIPP Model for Program Evaluation. In: Madaus, F.F., Scriven, M. and Stufflebeam D.L., Eds., Evaluation Models: Viewpoints on Educational and HumanServices Evaluation, Kluwer, Norwell, 117-141.