การประเมินโครงการเสริมสร้างวัยรุ่น วัยใส เพิ่มสุขอนามัย ห่วงใยสุขภาพ โรงเรียนบ้านบางคราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรงเรียนบ้านบางครามมีการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นปฐมวัยถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งนักเรียนในแต่ละช่วงวัยจะมีความหลากหลายในด้านพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมนักเรียนบางคนมีพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสม มีความสุ่มเสี่ยงต่อการดำเนินชีวิตในสังคม ผู้ประเมินจึงได้มีการจัดทำโครงการเสริมสร้างวัยรุ่น วัยใส เพิ่มสุขอนามัย ห่วงใยสุขภาพ โรงเรียนบ้านบางครามขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน ประเมินผลผลิต และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงของโครงการ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน รวม 165 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 17 คน นักเรียน จำนวน 45 คน ผู้ปกครอง จำนวน 45 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 115 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การประเมิน คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวคิดการประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ Danial Stufflebeam ) และมีส่วนปรับขยายของรูปแบบการประเมินในรูปแบบการประเมิน CIPPiest Model สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างวัยรุ่น วัยใส เพิ่มสุขอนามัย ห่วงใยสุขภาพ โรงเรียนบ้าน บางคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
กาญจนา วัฒนายุ. (2544). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กรีน ผุยปุโรย. (2557). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนโนนสีดาวิทยา ศรีสมเด็จจังหวัดร้อยเอ็ด .[วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].
จันทิมา บุญอนันต์วงศ์ และนัชพณ ฤทธิ์คำรพ. (2563, พฤษภาคม – สิงหาคม 2563). รายงานประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสระบุรี โดยใช้รูปแบบซิปป์โมเดล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14 (2), 43-53.
ทนงศักดิ์ โพธิ์เกตุ. (2561). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โรงเรียนบ้านดอนแยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5 (10), 286-299.
บุญชม ศรีสะอาด. (2540). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุริยาสาสน์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้ CIPP and CIPIEST Evaluation Models: Mistaken and Precise Concepts of Applications. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (2) , 2-9.
วิไลวรรณ อธิมติชัยกุล. (2561). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยสันตพล, 4(2), 49-64.
อรพรรณ ภัคมนตรี. (2563). ประเมินผลโครงการโรงเรียนรอบรู้ สุขภาพดีมีความสุข ด้านโภชนาการ พ.ศ2562. วารสารโภชนาการ, 55 (2), 78-85.
Walker, D. A. (2011). An Exploration of How disability support serbices are evaluated in select communities’ colleges. Chicago, Illinois: Digital Commons@NLU.
Langford, L. L. (2010). The Development and Testing of an Evaluation Model for Special Education. the Faculty of the Graduate School of The University of Texas at Austin.