4 ชุดความคิดในการผลิตและพัฒนาครู ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Main Article Content

ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์

บทคัดย่อ

4 ชุดความคิดในการผลิตและพัฒนาครู ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นรูปแบบของแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนาครูอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งเกิดจากการรวบรวมวิเคราะห์ สังเคราะห์จากเอกสารและประสบการณ์การบริหาร ประกอบด้วย ชุดความคิดที่ 1 การผลิตครูตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นส่วนแรกและเป็นส่วนสำคัญของการผลิตและพัฒนาครู ซึ่งจะต้องอยู่บนมาตรฐานของมาตรฐานวิชาชีพครู ชุดความคิดที่ 2 การผลิตครูและพัฒนาครูตามรูปแบบ 38 มหาวิทยาลัยราชภัฏ 17 สมรรถนะและการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นตัวตน ตามบริบทพื้นที่ของแต่ละมหาวิทยาลัยให้เด่นชัดชุดความคิดที่ 3 การผลิตครูตามที่นำเสนอท่านองคมนตรีเกี่ยวกับจุดเน้นในเรื่องของ “สติสัมปะชัญญะ”เพื่อการผลิตและพัฒนาครู อันเป็นหัวใจสำคัญยิ่งสำหรับการพัฒนาครูในปัจจุบัน และชุดความคิดที่ 4การบริหารงานของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญในการขับเคลื่อนให้การผลิตและพัฒนาครูด้วยฐานคิด PMDSE การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน ทั้งนี้ ข้อเสนอเกี่ยวกับ 4 ชุดความคิดในการผลิตและพัฒนาครูที่เป็นตัวอย่างของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลานี้ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งของขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนาครูแบบองค์รวม อันจะช่วยทำให้งานการผลิตและพัฒนาครูบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีความสุขอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนา กรอบการดำเนินงานหลักสูตรฐานสมรรถนะ สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เพ็ญวรา ชูประวัติ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ชญาพิมพ์ อุสาโห สุกัญญา แช่มช้อย และสืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2564). ระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบการพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(3), 229 – 243.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันดี. (2559). บทความปริทัศน์ การศึกษาไทย: จากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(1), 1 – 5.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์. (2564). เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ ครั้งที่ 2/2564. สงขลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์. (2565ก). เอกสารประกอบการบรรยายรับองคมนตรีในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565. สงขลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์. (2565ข). เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะครุศาสตร์ ครั้งที่ 3/2565. สงขลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์. (2565ค). เอกสารการบรรยายพิเศษ โครงการสัมมนาผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศ นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 3 (หลักสูตร 4 ปี) วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565. สงขลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูง สำหรับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2563). รายงานประจำปี 2562 สำนักงานคุรุสภา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สำนักนโยบายและแผน กลุ่มวิจัย ติดตามและประเมินผล.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 102(35) , 101 – 136.

Cirila, P. (2015). Teacher Competencies through the Prism of Educational Research.CEPS Journal, 5(3). pp. 183 – 204.

Nataša, P. & Theo, W. (2010). Teacher competencies as a basis for teacher education – Views of Serbian teachers and teacher educators. Teaching and Teacher Education, Elsevier, 26(3). pp. 694-703. https://doi.org/10.1016/j.tate.2009.10.005.