การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด -19 ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านธารน้ำลึก จังหวัดสงขลา

Main Article Content

สุชาสินี จินดาวงศ์
กันตพัศฐ์ สุขอยู่
ธีรทัศน์ ราชแก้ว
เอกรินทร์ สังข์ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยออกแบบการวิจัยโดยใช้กรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านธารน้ำลึก (นามสมมติ) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน และครูผู้สอนจำนวน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์การวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้หลักการตรวจสอบสามเส้า และหลักสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ


ผลจากวิจัยพบว่าสถานการณ์โควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานให้ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับสถานการณ์โควิด-19 โดยโรงเรียนยังคงยึดการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การรู้จักนักเรียน เป็นรายบุคคล มีการสร้างความตระหนักและเจตคติที่ดีให้กับครูที่ปรึกษาในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียน โดยใช้ทักษะเทคนิคและวิธีการที่หลากหลายภายใต้ความปลอดภัยผ่านระบบออนไลน์ 2) การคัดกรองนักเรียนผู้บริหารและครูร่วมกันสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนแล้วดำเนินการจัดกลุ่มนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม  คือกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา 3) การส่งเสริมพัฒนา ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้เหมือนกับตอนที่สถานศึกษาเปิดตามปกติ แต่ปรับรูปแบบเป็นระบบออนไลน์ 4) การป้องกันและแก้ไข มีการปฏิบัติตามมาตรการที่โรงเรียนตั้งไว้ สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนและเครือข่ายผู้ปกครองให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อร่วมมือในการแก้ไขปัญหานักเรียนอย่างต่อเนื่อง และ 5) การส่งต่อดำเนินการส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาที่ยากต่อการช่วยเหลือ หรือช่วยเหลือแล้วนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ดีขึ้นก็จะดำเนินการส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา เนียมสวัสดิ์. (2557). คู่มือการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13. ตรัง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13.

จริยา แสงมีศรี. และจุฑารัตน์ นิรันดร. (2561). ความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในเครือข่ายที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. 9 (2), 255-265.

จุติกรณ์ นิสสัย (2558). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองปรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

นพเกล้า ทองธรรมมา และ สุวัฒน์จุลสุวรรณ. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (5), 264-278.

นิทัศน์ วงศ์วังเพิ่ม. (2563). การวิจัยเชิงคุณภาพเบื้องต้น. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 5(2), 11.

ปรมาภรณ์ สนธิ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประชัน ธิมาและสมบัติ ศรีทองอินทร์. (2556). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ฟองจันทร์ กลิ่นสุคนธ์ และคณะ. (2563). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1.วารสารบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6 (6), 154-170.

สมคิด บุญมา. (2552). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนท่าเกษมพิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมานมิตร ดอกขจร. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคอนน้อย อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สังคม แก้วสว่าง. (2547). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเสสะเวชวิทยา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุภางค์ จันทวานิช (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Creswell, J. W. (1998). Qualitative inquiry and research design: Choosing among fivetraditions. Thousand Oaks, CA: SAGE Publications.

Patton, M. Q. (1990) Qualitative Evaluation and Research Methods, London: Sage Publications.

Seidman, I. E. (1998). Interviewing as qualitative research: A guide for researchers in education and the social sciences (2nd ed.) New York: Teachers College Press.