การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา รายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา รายวิชา วิทยาการคำนวณ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา รายวิชา วิทยาการคำนวณ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชะอวดวิทยาคารที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา รายวิชา วิทยาการคำนวณ ภาคเรียนที่ 2/2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร ที่เรียนรายวิชา วิทยาการคำนวณ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง สถิติทดสอบค่า t-test แบบ Dependent
ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา รายวิชา วิทยาการคำนวณ มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีประสิทธิภาพ 88.47/83.16 ตามเกณฑ์ 80/80
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา รายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร โดยรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
ครรชิต มาลัยวงศ์, (2540). นวัตกรรมทางการศึกษาในศตวรรษ 2000. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2559). เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ เรื่อง รู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันสารสนเทศหัวใจของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565 จาก https://www.nstda.or.th/nac/2016/index78d3.html?page_id=661
แวววิไล จำปาศักดิ์. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ลักษณะนาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุทธิพร สายทอง. (2561). การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ รายวิชา อาเซียนศึกษาของนิสิต สาขารัฐศาสตร์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์ลำปาง ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561), หน้า 311-321.
อนรรฆพร สุทธิสาร. (2564). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2564), หน้า 244-259.