การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม Canva เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชา วิทยาการคำนวณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม Canva เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชา วิทยาการคำนวณ และ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม Canva เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชา วิทยาการคำนวณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม Canva และ 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง สถิติทดสอบค่า t-test แบบ Dependent
ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม Canva เรื่อง พลเมืองดิจิทัล รายวิชา วิทยาการคำนวณ ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประสิทธิภาพ 85.00/88.33 ตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
บุญมี ชุติมาธรสาร และวิมาน ใจดี. (2560). การพัฒนาสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Captivate สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านนวัตกรรมการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ 2560. หน้า 781-787.
พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2560). การพัฒนาโมชันอินโพกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคราม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2560. หน้า 1330-1341.
ศิริพล แสนบุญส่ง นิป เอมรัฐ และศักดา จันทราศรี. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง โปรแกรมค้นหา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพระขาว (ประชานุเคราะห์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. หน้า 1-15.
สุฑามาศ แก้วมรกต และอภิชา แดงจำรูญ. (2564). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การออกแบบภาพกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564. หน้า 303-317.
สุพัตรา ชาติบัญชาชัย. (2548). กระบวนการเรียนรู้: แนวคิด ความหมาย และบทเรียนในสังคมไทยโครงการสร้างเสริมการเรีนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข. กรุงเทพฯ.
Bloom, B. S., Englehart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of education objectives, handbook I: The cognitive domain. New York: David McKay Co Inc.