การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอิสลามศึกษา เรื่อง หลักศรัทธาในอิสลาม โดยใช้รูปแบบการสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)

Main Article Content

นัจมีย์ โซ๊ะซูมะ
ปรีดา เบ็ญคาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอิสลามศึกษา เรื่อง หลักศรัทธาในอิสลามระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์ร่วมกับ การใช้ผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก รายวิชาอิสลามศึกษา เรื่อง หลักศรัทธาในอิสลาม  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาอิสลามศึกษาโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก เรื่อง หลักศรัทธาในอิสลาม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาอิสลามศึกษา เรื่อง หลักศรัทธาในอิสลาม และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการทดสอบที แบบไม่อิสระผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอิสลามศึกษา เรื่องหลักศรัทธาในอิสลามของนักเรียนชั้น ป.6 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01


2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้รูปแบบการสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์ร่วมกับ การใช้ผังกราฟิกโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ รัตนประเสริฐศรี. (2553). การผลิตดิจิทัลวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องดนตรีไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ.

จุฑาทิพย์ อรุณรัตน์ (2562). การผลิตสื่อวีดิทัศน์ออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบหรรษา รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2559). การวิจัยสำหรับครู. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

มนตรี วรารักษ์สัจจะ. (2558). การพัฒนาการสอนด้วยการใช้แผนผังกราฟิกเพื่อสร้างความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ศิลป์สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพล แสนบุญส่ง, นิป เอมรัฐ, และศักดา จันทราศรี. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่องโปรแกรมค้นหา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพระขาว (ประชานุเคราะห์)จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 4(2). 1-15.

Marshall, J. (2002). Learning with technology: Evidence that technology can, and does, support learning. White paper prepared for Cable in the Classroom. San Diego State University.