ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการชำระภาษีสรรพสามิตผ่านช่องทางออนไลน์

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ณดา ธนศิราภัทรศิลป์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อุบลวรรณ ขุนทอง คณะการจัดการธุรกิจและการเงิน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • บุญธรรม ราชรักษ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ภาษีสรรพสามิต, ผู้ประกอบการ, ชำระภาษีออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการชำระภาษีสรรพสามิตผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1-5 จำนวน 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการชำระภาษีสรรพสามิตผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งานและด้านความน่าเชื่อถือของหน่วยงานมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การให้บริการเว็บไซต์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทัศนคติในการใช้งานและการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลต่อการชำระภาษีสรรพสามิตผ่านช่องทางออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กานต์สินี รุ่งเรืองวงศ์ และสมบูรณ์ สาระพัด. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบพร้อมเพย์ของผู้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 1-20.

ณัฐปภัสร์ ดาราพงษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ผ่านธนาคารทางอินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 1(1), 60-94.

ประสบโชค มงคลกิจ. (2549). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.

วนิดา แสงชวลิตร. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบ New e-Filing ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตของสำนักงานบัญชีในจังหวัดชลบุรี, วารสารสุทธิปริทัศน์, 38(1), 100-118

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2567). ชีวิตคนไทยง่ายขึ้น ! รัฐบาลดิจิทัลไทยทะยานสู่อันดับ 52 ของโลก และครองอันดับ 2 ในอาเซียน มุ่งสู่เป้าอันดับ 40 ในปี 2570. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2568 จาก https://www.dga.or.th/document-sharing/dga-news/110376/

Davis, F.D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

DeLone, W.H. & Mclean, E.R. (2003). The DeLone and McLean Model of Information Systems Success: A Ten-Year Update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.

Fang, Z.Y. (2002). E-Government in Digital Era: Concept, Practice, and

Development. International Journal of The Computer, The Internet and Management, 10(2), 1-22.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Beliefs, Attitude, Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research Readings. MA: Addison-Wesley.

Smith, A. (1776). An inquiry into the nature and causes of the wealth of nations. W. Strahan and T. Cadell.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.,

Engle clips.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-20