การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนนานาชาติ

ผู้แต่ง

  • ภัทรวดี ผดุงศิลป์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบแบบสมองเป็นฐาน, ผังกราฟิกสามมิติ, ความสามารถในการอ่านภาษาไทย, ความสามารถในการเขียนภาษาไทย, นักเรียนในโรงเรียนนานาชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติและ 3) เพื่อศึกษาความสุขในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3 โรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่ง ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยมีนักเรียนจำนวน 17 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มและมีหน่วยสุ่มเป็นห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น
1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติ จำนวน 5 แผน
2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทย 3) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนภาษาไทย และ 4) แบบสอบถามความสุขในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสามมิติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสุขในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมีความสุขมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤตยากาญจน์ อินทร์พิทักษ์. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนคําภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กันตรัตน์ สุจิตวนิช. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยโดยใช้เทคนิค SQ4R โรงเรียนสองภาษาเอกชน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต

จิรัชญา อุ่นอกพันธ์ พงษ์เอก สุขใส และอังขณา อ่อนธานี. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและความสุขในการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(3), 35-48.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการตคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิรชัย ชายทวีป และศรัณย์ ขนอม. (2566). การจัดการเรียนรู้ที่สร้างองค์ความรู้ฝังลึก (SECI3D-GO Model) และการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด. วารสารปราชญ์ประชาคม, 1(2), 102–117.

ธัญรัตน์ อุยโต. (2561). การพัฒนาทักษะการเขียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภริตา การะภาพ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทรียา ภูผาเวียง (2566) การพัฒนาความสามารถการอ่านและเขียนคําพื้นฐาน โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดศรีสว่าง. วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด. 1(5), 1-13.

มยุรี หอมขจร. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความเเละความภาคภูมิใจในท้องถิ่นด้วยการ จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรารักเพชรบุรีของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณทิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่งทิวา ฉิมกูล. (2562). ผลการใช้วิธีสอนแบบพาโนรามาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสระไคร จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณทิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรนาท รักสกุลไทย และคณะครูอนุบาลโรงเรียนเกษมพิทยา. (2559). สุดยอดเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบครูมืออาชีพ “การสอนแบบโครงการ” (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: แฮปปี้ เลิร์นนิ่ง

สิรินาถ ปู่ดอก, อรรถพงษ์ ผิวเหลือง, และ เสฏฐพล วรรณคำ. (2566). การพัฒนาความสามารถการอ่านและเขียนคําพื้นฐานโดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสหกรณ์ดําริ. วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด. 1(5), 27-38.

สุพจน์ ศิลปวัฒนา, เกตุมณี มากมี, และวารุณี โพธาสินธุ์. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ในรายวิชาภาษาไทยวัฒนธรรมไทย และประวัติศาสตร์ไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 แบบยืดหยุ่น โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 31(2), 1-16.

Barnekow, D. J. (2009). 3-D Graphic Organizers. Scholastic Teaching Resources.

Boonsue, K. (1997). Happy Learning. Journal of Education Studies.

Chafla Ruiz, S. P. (2022). 3D graphic organizers (Foldables) for vocabulary learning. Ecuador: Ambato.

Jensen, E. (2000). Brain-based Learning. CA: San Diego: The Brain Store Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-20