การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล (CIPPA Model)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย

ผู้แต่ง

  • ธนัชพร ยอดคำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ณรงศักดิ์ ลุนสำโรง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พิทักษ์ แฝงโกฎิ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

ทักษะการอ่าน, การอ่านจับใจความสำคัญ, การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ  ค่า t-test แบบ Dependent Sample

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย มีประสิทธิภาพ 78.94/71.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เรียกใช้เมื่อ 30 มิถุนายน 2564 จาก https://shorturl.asia/3sE5P

ทักษพร โพธิ์เหมือน. (2561). การพัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 4W1H ส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL). วารสารวิชาการกรมวิชาการ, 2(5), 2-30.

นฤมล แว่วสอน. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุรัสกร ธรรมขันธ์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA MODEL ร่วมกับแอพพลิเคชั่น Plickers สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ปาณิสรา อำมะรีณ์. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีจารณวิญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครมโซม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ภคิน โชติธนเลิศ. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญจากนิทานชาดกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุนทรพิชิตาราม อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. ใน สารนิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษามัธยม). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มณีรัตน์ ศรีสุวรรณ. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติชั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565. เรียกใช้เมื่อ 30 มิถุนายน 2564 จาก Basic Stat BY Grade 2565 _P6,pdf.

สุมาลี คำสว่าง. (2561). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาร่วมกับรูปแบบร่วมมือ เทคนิคจิกซอว์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-20