รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการสถานศึกษา, สถานศึกษาปลอดภัยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 และ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 118 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและระดับปัญหา สภาพที่พึงประสงค์ 2) แบบสัมภาษณ์ 3) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 4) แบบสอบถามความเหมาะสม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ประกอบด้วย หลักการและวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ กลไก แนวทางการประเมิน และเงื่อนไขความสำเร็จ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
นวอัมรินทร์ เกตุหอม,เสริมทรัพย์ วรปัญญา และ ภูวดล จุลสุคนธ์.(2568). แนวทางการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานตําแหน่งผู้อํานวยการสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วารสารสันตยาภิวัฒน์ วัดหนองนกกด, 3(1), 14-31.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปิยะธิดา ปัญญา. (2567). สถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
รัชนี แสงพันธ์, อภิญญา สุขในศิลป์, พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต และ ภัทราวดี มากมี. (2567).
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในโรงพยาบาลสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น, 1(1), 62-77.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2544). วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: เพรส.
วินุลาศ เจริญชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการจัดการองค์การสมรรถนะสูง เพื่อพัฒนาคุณภาพของการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารจัดการส่วนจังหวัด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2554). หลักการ ทฤษฎีและนวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา. มหาสารคาม: โรงพิมพ์สารคามการพิมพ์.
สุริยันต์ สุวรรณทอง. (2567). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น. 1(2), 48-62.
อดิศร ดีปานธรรม. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
เอมอัชฌา (รัตน์ริมจง) วัฒนบุรา. (2557). สวัสดิศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Hidayati, Ronghui, & Frank. (2012). The Impact of School Safety Zone n and Roadside Activities on Speed Behaviour : the Indonesian Case. Procedia - Social and Behavioral Sciences.
Stranks, J. (1994). A Manager’s Guide to Health and Safety at Work. London: Kogan Page.