จตุราริยสัจกับการเรียนการสอนโคลงโลกนิติ
จตุราริยสัจกับการเรียนการสอนโคลงโลกนิติ
คำสำคัญ:
จตุราริยสัจ, โคลงโลกนิติ, ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโคลงโลกนิติตามขั้นตอนของจตุราริยสัจ จตุราริยสัจเป็นหลักคำสอนสำคัญที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบและทรงสั่งสอนเพื่อปลดเปลื้องเวไนยสัตว์ออกจากทุกข์ทั้งปวง และโคลงโลกนิติก็เป็นบทประพันธ์สุภาษิตที่มุ่งแสดงถึงสัจธรรมของชีวิต เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง
การเรียนการสอนโคลงโลกนิติตามขั้นของจตุราริยสัจ คือ ขั้นทุกข์หรือขั้นกำหนดปัญหา ขั้นสมุทัย หรือขั้นตั้งสมมติฐาน ขั้นนิโรธหรือขั้นการทดลองเก็บข้อมูล และขั้นมรรคหรือขั้นสรุปผล เป็นขั้นตอนนำมา ซึ่งความรู้ด้วยตนเอง ผ่านกระการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาโคลงโลกนิติ ซึ่งเป็นวรรณคดีสุภาษิตที่แสดงคดีโลกและคดีธรรมได้อย่างลึกซึ้งถึงความจริงของชีวิต และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ที่มีอยู่ในโคลงโลกนิติกับกรณีตัวอย่าง เพื่อฝึกฝนการคิดแก้ปัญญาหาเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในภาวการณ์ปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
References
ชมพร ไชยล้อม. (บรรณาธิการ). (2559). ประชุมโคลงโลกนิติ. นนทบุรี: บริษัท สำนักพิมพ์ ศรีปัญญา จำกัด.
นิยะดา เหล่าสุนทร. (บรรณาธิการ). (2544). ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพ ฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
พระเทพเวที. (2532). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อมรินทร์ พรินติ้ง กรุ๊พ จำกัด.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2522). พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพรหมมุนี. (2552). อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาสินีฎีกา ฉบับแปลเป็นไทย. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระศรีรัตโนบล. (2560). การวิเคราะห์โคลงโลกนิติตามแนวปรัชญาสังคมเชิงพุทธ. 2560,158.
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับครบรอบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. เล่มที่ 6, 17, 33,34,และ 35. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. (2553). รำลึกคุณูปการศาสตราจารย์ดร.สาโรช บัวศรี. กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (2564). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 55).กรุงเทพฯ: บริษัท ท่าทรายกนก (2000) จำกัด.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (2564). พุทธวิธีในการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
สาโรช บัวศรี. (2526). วิธีสอนตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ. ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สาโรช บัวศรี. (2536). วิธีสอนตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจในการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สุภีร์ ทุมทอง. (2556). อริยสัจ 4. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด ภาพพิมพ์.
สุภีร์ ทุมทอง .(2556). อริยสัจ 4 สัจจะที่ทำให้ถึงความเป็นพระอริยเจ้า. กรุงเทพฯ : บริษัท ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัยนิติบุคคลเจี้ยฮั้ว.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2564). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.