ปัญหาและอุปสรรคการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปใช้
คำสำคัญ:
การดำเนินงาน, รางวัลคุณภาพแห่งชาติ, ปัญหาบทคัดย่อ
รางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นรางวัลมาตรฐานระดับโลกและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสามารถประเมินองค์กรตนเอง เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เน้นวิธีการหรือรูปแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการพัฒนาองค์กรไม่ได้เกิดขึ้นจากการพัฒนาบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายและทุกระดับ โดยบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. อธิบายการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ 2. วิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยใช้การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ เอกสารรายงานประจำปี รายงานการวิจัย และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1. การดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย 7 หมวด ได้แก่หมวด 1 การนำองค์กร หมวด 2 กลยุทธ์ หมวด 3 ลูกค้า หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ หมวด 5 บุคลากร หมวด 6 การปฏิบัติการ หมวด 7 ผลลัพธ์ 2. สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ คือ 2.1) บุคลากรมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับหลักการและแนวทางการพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแหงชาติ 2.2) การนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติมาปรับใช้ในองค์กรขาดความต่อเนื่องในการนำไปปฏิบัติ 2.3) หลายองค์กรประสบปัญหาเรื่องแผนการดำเนินงานที่ขาดความชัดเจนและต่อเนื่องซึ่งมีความเชื่อมโยงกับปัญหาด้านบุคลากร
References
ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2563). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(2), 461-470.
นิภาพร ลิ้มเฉลิม. (2561). แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์สู่ความเป็นเลิศของสภากาชาดไทยตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2566). ภาวะผู้นำ. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บรรพต ปันทรส. (2545). การบริหารนโยบาย และการบริหารงานประจำวันของการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ กรณีศึกษา บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด. เชียงใหม่: สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2546). แนวคิดในการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปใช้ในการพัฒนาองค์กร. วารสารประกันคุณภาพ, 4(2), 22-24.
ผู้จัดการออนไลน์. (2566). 12 องค์กรไทย คว้ารางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2565 เผยปีหน้ามี 2 รางวัลใหม่. https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000016720.
มณฑล สรไกรกิติกูล และชยาพล สุนทรวิวัฒนา. (2562). สถานการณ์ท้าทายที่กระตุ้นการสร้างความรู้ของพนักงานในองค์กรขนาดใหญ่. Journal of HRintelligence, 14(1), 28-44.
วินุลาศ เจริญชัย. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 102-108.
ศศิธร มาตย์วิเศษ. (2565). การดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของกองพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานการวิจัยสหกิจศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศศิธร สาเอี่ยม. (2544). การบริหารคุณภาพโดยรวมและความพึงพอใจในการทำงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแหงชาติ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สรวิชญ์ เปรมชื่น. (2559). คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระบบราชการไทย. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 9(1), 38-57.
ส่วนสื่อสารองค์กร. (2565). เปิดใจ 4 องค์กรต้นแบบพร้อมสู้ความเปลี่ยนแปลงด้วยวิถี TQA. https://www.ftpi.or.th/2022/95113.
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2562). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติปี 2563-2564. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออกจำกัด (มหาชน).
สุดใจ ธนไพศาล. (2556). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) และเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) เพื่อประยุกต์ใช้กับองค์กรทางการศึกษา. วารสารห้องสมุด, 57(2), 71-85.
สุรวุธ พุ่มอิ่ม, เอกลักษณ์ ขาวประภา และศิริวารินทร์ วานมนตรี. (2563). การศึกษาแนวทางการนำเอาเกณฑ์รางวัลคุณภาพแหงชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพระดับหน่วยงานสนับสนุน. วารสารวิจัยสถาบัน มข., 1(2), 137-148.