บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

ผู้แต่ง

  • กมลชนก โคตรวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • มิตภาณี พุ่มกล่อม

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, ส่งเสริมสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะของครู และเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจน เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 293 คน ได้มาโดยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษาการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า

  1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

          2. การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะครูในศตวรรษ ที่ 21 จำแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน สำหรับการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน

References

กาญจนา ภูวประภาชาติ. (2565). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสาร สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 5(4), 1393-1405.

ขนิษฐา ปานผา. (2558). สมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่ของครูตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ณัฐธิญา กับปุลาวัลย์. (2567). บทบาทผู้บริหารสถายศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ณัฏฐกิตติ์ บุญเก่ง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ธาริณี จินดาธรรม. (2560). กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(2), 261-270.

ธิดากาญจน์ หินเดช, สังวาร วังแจ่ม, ทัศนีย์ บุญมาภิ และสุรศักดิ์ สุทธสิริ. (2567). การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 9(1), 825-835.

บุญฤดี อุดมผล. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครูเชิงพุทธบูรณาการของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย,10(2), 161.

พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

มนต์รัก วงศ์พุทธะ. (2564). ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

รัญชนา ประชากุล และธีรภัทร กุโลภาส. (2563). การศึกษาสมรรถนะครูในศตวรรษที่21ของครูในสหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 16(2), 1.

วิไลวรรณ มาลัย. (2561). สมรรถนะหลักตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้สมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย6(1), 7-11.

ศิริพร แก้วหอม, สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ และ ศจี จิระโร. (2566). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาเอกชน กลุ่มเขตกรุงธนใต้ กรุงเทพมหานคร. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 4(2), 64-79.

ศุภรา ถาอินทร์ และสิทธิชัย มูลเขียน. (2567). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เชียงใหม่. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 8(1), 206-219.

สิทธิศักดิ์ เพ็ชรยิ้ม. (2563). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สานิตา แดนโพธิ์. (2560). สมรรถนะครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมนึก อินทะลา และกรรณิกา ไวโสภา. (2566). การศึกษาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1), 228-239.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กาญจนบุรี: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ 2560–2579. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

อรกาญจน์ เฉียงกลาง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W, (1970). Determining sample size for research activities. Educational & Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbein, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-23

How to Cite

โคตรวงศ์ ก. ., & พุ่มกล่อม ม. . (2025). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 2(1), 60–72. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/814