ความมั่นคงของมนุษย์ตามหลักคำสอนเรื่องสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
คำสำคัญ:
ความมั่นคงของมนุษย์,, สุขของคฤหัสถ์,, ความพึงพอใจในชีวิตบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและขอบเขตความมั่นคงของมนุษย์ระดับสากลและความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย เทียบเคียงหลักคำสอนเรื่องสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการในพุทธศาสนา เป็นบทความวิชาการที่ศึกษาเชิงเอกสาร บูรณาการพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ ใช้ข้อมูลจากพระไตรปิฎก และ เอกสาร หนังสือ ตำราวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) ความมั่นคงของมนุษย์ระดับสากลมุ่งที่มนุษย์ได้รับเสรีภาพหรือการปลอดจากความกลัว เสรีภาพหรือการปลอดจากความต้องการ/ความขาดแคลน เสรีภาพในการดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี มี 7 มิติ คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ อาหาร สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ส่วนบุคคล ชุมชน และความมั่นคงทางการเมือง ความมั่นคงของมนุษย์คนไทยมุ่งที่ประชาชนได้รับหลักประกันด้านสิทธิ ความปลอดภัย การสนองตอบต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ตลอดจนได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง มี 12 มิติ ได้แก่ มิติที่อยู่อาศัย สุขภาพ อาหาร การศึกษา การมีงานทำ/รายได้ ครอบครัว ชุมชน/การสนับสนุนทางสังคม ศาสนา/วัฒนธรรม ความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน สิทธิ/ความเป็นธรรม การเมือง และมิติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร/พลังงาน 2) สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการในพุทธศาสนา ได้แก่ สุขจากการมีอาชีพมีงานทำ สุขจากการมีรายได้มีเงินเก็บ สุขจากการมีเงินใช้สอย และสุขจากการไม่มีหนี้ เพราะมีอาชีพมีงานทำ จึงมีรายได้มีเงินเก็บ เพราะมีรายได้มีเงินเก็บ จึงมีเงินใช้สอย เพราะมีเงินใช้สอย จึงไม่มีหนี้สิน สอดคล้องกับความมั่นคงของมนุษย์สากลด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคงของมนุษย์คนไทยมิติการมีงานทำและรายได้อย่างชัดเจน
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2566). แผนปฏิบัติราชการรายปี ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ 2567. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
__________. (2566). รายงานความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี 2565. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
พระครูสมุห์วัลลภ ฐิตสํวโร และคณะ. (2562). สถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ในประเทศไทย. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2. หน้า 508-511.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). จริยธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
__________. (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช). (2559). พจนานุกรม ไทย-บาลี. กรุงเทพมหานคร: วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร.
__________. (2558). ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเซียง.
พระมหาอภิรมย์ ภทฺทโก (ปรากฏสยาม). (2561). แนวทางการสร้างความสุขตามหลักคิหิสุขของหมู่บ้านสีชวา ตำบลไผทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
__________. (2562). แนวทางส่งเสริมการสร้างความสุขตามหลักคิหิสุขของหมู่บ้านสีชวา ตำบลไผทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. หน้า 32-33.
พระศุภรงค์ ปชฺโชโต (จันทกิจ). (2557). การปฏิบัติตนตามหลักโลกิยธรรมของพุทธศาสนิกชน ในตำบลสีพยา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พลสรรค์ สิริเดชนนท์, พูนชัย ปันธิยะ. (2561). ความมั่นคงของมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา. พิฆเนศวร์สาร. ปีที่ 14 ฉบับที่่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม). หน้า 161-162.
มนัสวี อรชุนะกะ. ความมั่นคงของมนุษย์. ใน การพัฒนามนุษย์ในบริบทโลก. เอกสารการสอนประจำชุดวิชา 82427. หน่วยที่ 3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 11 เมษายน 2567. จาก https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/82427-3.pdf.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
__________. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ เล่ม 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. หน้า 163-164.
__________. (2553). อรรถกาภาษาไทยพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุก-จตุกกนิบาต มโนรถปูรณี ภาค 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 484.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). มังคลัตถทีปนี ภาษาไทย ภาค 1-2 ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2553). ความสุขเป็นสากล. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.