พระรามของเขมร (รามเกรฺติ์) : การศึกษาในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
เรื่องพระรามของเขมร,, (รามเกรฺติ์),, วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องพระรามของเขมร (รามเกรฺติ์) ในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่าเรื่องพระรามของเขมร (รามเกรฺติ์) ปรากฏหลักธรรม คำสอนทางพุทธศาสนา 2 ประการ คือ 1. ไตรลักษณ์ 2. มงคลสูตร โดยหลักธรรมคำสอนเรื่อง ไตรลักษณ์ได้อธิบายให้เห็นในเรื่องของความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของทุกสรรพสิ่งที่ไม่มีวันหลีกพ้นได้ ส่วนหลักธรรมคำสอนเรื่องมงคลสูตร เป็นการอธิบายแนวทางในการปฏิบัติตนในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ความกตัญญู งดเว้นจากการทำชั่ว รู้จักเคารพ การทำนิพพานให้แจ้ง มีสติไม่ประมาท ซึ่งหลักธรรม คำสอนประการต่าง ๆ หากปฏิบัติตามแล้ว ก็จะช่วยสร้างความเจริญงอกงามแก่ชีวิต
References
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ และสิทธิมนต์ ติสันเทียะ. (2565). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา. ใน วรรณกรรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุษบา เรืองศรี. (2548). วรรณศิลป์และภาพสะท้อนวัฒนธรรมเขมร ในรามเกรติ์ฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ เล่มที่ 1-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัฒน์ เพ็งผลา. (2556). วรรณกรรมบาลีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พุทธสาสนบัณฑิตย. (2539 ก). เรื่องรามเกรติ์ เล่ม 1. พนมเปญ: พุทธสาสนบัณฑิตย.
_________. (2539 ข). เรื่องรามเกรติ์ เล่ม 2. พนมเปญ: พุทธสาสนบัณฑิตย.
_________. (2539 ง). เรื่องรามเกรติ์ เล่ม 4. พนมเปญ: พุทธสาสนบัณฑิตย.
_________. (2539 ช). เรื่องรามเกรติ์ เล่ม 7. พนมเปญ: พุทธสาสนบัณฑิตย.
_________. (2539 ซ). เรื่องรามเกรติ์ เล่ม 8. พนมเปญ: พุทธสาสนบัณฑิตย.
_________. (2539 ฌ). เรื่องรามเกรติ์ เล่ม 9. พนมเปญ: พุทธสาสนบัณฑิตย.
_________. (2539 ญ). เรื่องรามเกรติ์ เล่ม 10. พนมเปญ: พุทธสาสนบัณฑิตย.
ศานติ ภักดีคำ. (2550). ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย-เขมร. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สนิท ตั้งทวี. (2527). วรรณคดีและวรรณกรรมพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เสฐียรโกเศศ. (2550). อุปกรณ์รามเกียรติ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศยาม.