แนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะเกาะกลางอ่างเลิงซิว เทศบาลเมืองกุฉินารายณ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
แนวทาง, การพัฒนา, สวนสาธารณะบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะเกาะกลางอ่างเลิงซิว 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคแนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะเกาะกลางอ่างเลิงซิว และ 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาสวนสาธารณะเกาะกลางอ่างเลิงซิว โดยวิธีการวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ผ่านการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม คือ 1. นายกเทศมนตรี 2. ประธานสภาเทศบาล 3. สมาชิกสภาเทศบาล 4. ปลัดเทศบาลเมือง 5. เจ้าหน้าที่เทศบาลเมือง และ 6. ประชาชน ผลการศึกษาประเด็นแนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะเกาะกลางอ่างเลิงซิว พบว่า เทศบาลเมืองกุฉินารายณ์มีการพัฒนาสวนสาธารณะในด้านต่างๆ เช่น ด้านลานกีฬาหรือสถานที่ออกกำลังกาย ด้านแหล่งน้ำสำหรับบำรุงต้นไม้ ด้านระบบระบายน้ำของสวนสาธารณะ ด้านห้องน้ำ ด้านไฟฟ้าส่องสว่าง ด้านจุดขายเครื่องดื่ม และด้านที่จอดรถ เพื่อพัฒนาสวนสาธารณะเกาะกลางอ่างเลิงซิวให้มีลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
References
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2547). การศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการสำหรับชุมชนเมืองขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษา เมืองนครราชสีมา เมืองขอนแก่น และ เมืองอุดรธานี. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนามาตรฐาน.
เจนรงค์ สมพงษ์ และ วราลักษณ์ คงอ้วน. (2563). บทบาทและการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสวนลุมพินี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชุติมา อมรโรจนาวงศ์. (2560). แนวทางการสร้างนโยบายและมาตรการการพัฒนาสวนสาธารณะเทศบาลเมืองชลบุรี กรณีศึกษา สวนสาธารณะสวนฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 80 ปี (สวนตำหนักน้ำเดิม). มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฤมล นิ่มนวล. (2565). การจัดการพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ประยุทธ์ บุตรสาร, สัญญา เคณาภูมิ และ วิทยา เจริญศิริ. (2560). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานของการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสศาสตร์.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปัทวี เนื่องมัจฉา. (2564). แนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา : สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชลมพรรษา 80พรรษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พงศ์ภาคย์ อินพ่วง. (2563). แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะร่วมกับชุมชน เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) ในพื้นที่โครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริบึงกุ่ม. คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยอนุเคราะห์ไทย.
รุสลีนา เบ็ญอับดุลลอฮ. (2564). แนวทางการพัฒนาพื้นที่สวนสาธารณะชุมชนเมืองอย่างยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดการสัญจรอัจฉริยะ (Smart mobility) กรณีศึกษา โครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริเขตบึงกุ่ม. วิทยาศาสตรบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). พัทลุง : มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2548). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). ความหมายสวนสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2566. จาก https://th.wikipedia.org/wiki.
ศิวพงศ์ ทองเจือ. (2557). แนวทางการออกแบบสวนสาธารณะระดับเมือง กรณีศึกษา สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 เทศบาลนครภูเก็ต. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเทศบาลเมืองกุฉินารายณ์. (2563). สวนสาธารณะเกาะกลางอ่างเลิงซิว. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.govesite.com/buakhaobk/document.php>.
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.
สุรีรัตน์ จำปาเงิน และศิวาพร กลิ่นมาลัย. (กรกฎาคม 2560). แนวทางการพัฒนาสวนสาธารณที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. การประชุวิชาการBuitEnvironment Research Associates Conference ครั้งที่ 8 ประจำปี2560 (BERAC 8, 2560). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้. (2564). We!Park แพลตฟอร์มสร้างพื้นที่สาธารณะที่กระตุ้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2566. จาก https://theurbanis.com/life/08/10/2021/548.