บทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน กรณีศึกษา บ้านหนองหญ้าม้า ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พงศกร ชาวดง
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ -
  • รพีพร ธงทอง

คำสำคัญ:

บทบาท, ผู้นำชุมชน, กองทุนหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ คือ  1. เพื่อศึกษาบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน และ 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก มีกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ 1. ประธานชุมชน 2. รองประธานชุมชน 3. คณะกรรมการชุมชน 4. ประชาชนและ 5. ปราชญ์ชาวบ้าน ผลการศึกษาประเด็นประเด็นบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ผู้นำชุมชนมีความสามารถในการบริหารชุมชนและกองทุน คอยดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขของชาวบ้านอยู่เสมอ ชาวบ้านรายใดมีความเดือดร้อนก็จะคอยไปช่วยแก้ไขปัญหา ทั้งยังเป็นที่รักของชาวบ้านในชุมชน ประเด็นปัญหาและอุปสรรคของบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ผู้นำชุมชนไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาของการบริหารกองทุนได้ในบางดรณี เช่น การคัดเลือกคุณสมบัติของชาวบ้านที่จะมากู้เงินหรือมาทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่มีการตรวจสอบคุณสมบัติก่อนที่จะให้กู้เงิน ปัญหาการคอรัปชั่นในกองทุน และประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของบทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ผู้นำชุมชนควรจะกำหนดแผนงานหรือนโยบายใด ๆ ในการบริหารกองทุน ควรจะลงพื้นที่ศึกษาสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อที่จะได้นำมาปรับใช้ให้ตรงกับลักษณะของชุมชน

 

References

กมลลักษณ์ ดิษยนันท์. (2546). ศักยภาพและปัญหาในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน ในจังหวัดเชียงใหม่. แม่โจ้ปริทัศน์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2546.

กิ่งกาญจน์ นาเอี่ยม และคณะ. (2561). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลลำพญา อำบางเลน จังหวัดนครปฐม. วันที่ค้นข้อมูล 11 เมษายน 2567, เข้าถึงได้จาก https://dept.npru.ac.th/msc/data/files/research5504.pdf.

จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2561). การพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ : ทศพิธราชธรรม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม.

ยงยุทธ เจริญรัตน์. (2550). การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: ศึกษาการเมืองของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : ไทยอนุเคราะห์ไทย.

วาสนา ปินตา. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง : กรณีศึกษา กองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอหางดง

จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรภัค สุวรรณภักดี. (2565). วิสัยทัศน์ผู้นำกับความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนเมือง. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยรังสิต.

เอมอร แสนภูวา. (2560). บทบาทของผู้นําชุมชนในการมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดน ไทย - กัมพูชา กรณีศึกษา อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพัฒนาสังคม, 19 (2), 37 - 52.

อํานวย แสงโนรี. (2554). ปัจจัยเสี่ยงและความสามารถบริหารความเสี่ยงของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554. การพัฒนาอนาคตชนบทไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน. 27 - 29 มกราคม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-18

How to Cite

ชาวดง พ. ., ราชจันทร์ พ. ., & ธงทอง ร. . (2025). บทบาทผู้นำชุมชนในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน กรณีศึกษา บ้านหนองหญ้าม้า ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 2(2), 51–62. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/924