แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4

ผู้แต่ง

  • อรรถพล บุญรัตน์ Kanchanaburi Rajabhat University
  • นิพนธ์ วรรณเวช

คำสำคัญ:

แนวทางการส่งเสริม, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา  คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 274 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามพื้นที่จัดการศึกษา และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98  และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้านรูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ด้านการวัด การประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และด้านการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ดังนี้ 2.1) ด้านบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คือ สถานศึกษาและครูผู้สอนอำนวยความสะดวกกับผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน 2.2) ด้านรูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก คือ ครูผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานและมีส่วนร่วมกับผู้อื่น 2.3) ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คือ ครูผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัด 2.4) ด้านการวัดการประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คือ สถานศึกษาและครูผู้สอนควรมีการวัดและประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลาย 2.5) ด้านการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คือ ครูผู้สอนได้รับการนิเทศ ติดตาม ช่วยเหลือ โดยตรงจากผู้บริหารสถานศึกษา

References

กนกวรรณ ฉัตรแก้ว (2562). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคประเทศไทย 4.0 ของครูผู้สอน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสตรและการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฐนกร สองเมืองหนู. (2562). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 14(1), 63-73.

ดิเรก วรรณเศียร. (2559). MACRO model : รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ทิพา พุมมา. (2565). แนวทางการบริหารงานโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบ Active Learning ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ธนัฏฐา คุณสุข. (2565). การบริหารงานวิชาการ ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ active learning. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

นาราทิพย์ ทองโสภา และชนณี ศิลานุกกิจ (2564). การรับรู้ต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(2), 79-89.

วนิดา ผาระนัด (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศักดิ์นรินทร์ นิลรัตน์ศิริกุล (2563). การพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก : กรณีศึกษา สหวิทยาเขตสตึก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกำแพงเพชร. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษท 21 จังหวัดกําแพงเพชร. กําแพงเพชร: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

อัจจิมา วงศชมภู ศักดินาภรณ์ นันที และสุชาติ บางวิเศษ (2566). แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. วารสารสังคมศาสตร์บููรณาการ, 9(3), 17-25.

อธิกร ทาแกง (2564). การศึกษาบทบาทการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

อรไท แสงลุน และมนสิช สิทธิสมบูรณ์ (2565). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(5), 332-348.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W, (1970). Determining sample size for research activities. Educational & Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbein, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-23

How to Cite

บุญรัตน์ อ. ., & วรรณเวช น. . (2025). แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 2(1), 73–87. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/841