การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ดนัย ลามคำ Public Administration Program, Faculty of Political Science, Pitchayabandit College.

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเมืองระดับท้องถิ่น, ผู้นำทางการเมือง, พรรคการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู และ 3) เสนอแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างจำนวน 375 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.67) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า บทบาทผู้นำทางการเมือง ( = 3.78) มีค่าเฉลี่ยระดับสูงที่สุด รองลงมา คือ บทบาทกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง ( = 3.59)
  2. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.84) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนใน ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยระดับสูงที่สุด ( = 3.49) รองลงมา คือ ด้านการตัดสินใจ ( = 3.03) ด้านการแสดงความคิดเห็น ( = 2.94) ด้านการร่วมดำเนินการ ( = 2.84) และด้านการติดตามตรวจสอบ ( = 2.39)
  3. แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ควรจัดกิจกรรมหรือเวทีด้านการเมืองเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารและการดำเนินงานต่าง ๆ ของเวทีการเมืองระดับท้องถิ่น จัดทำสื่อออนไลน์เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการและตรวจสอบ

References

ชนาธิป ธนะรัช และ ภัครดา ฉายอรุณ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(2): 107-116.

ณัฐธนินทร์ เลิศเตชะสกุล (2562) บทบาทผู้นำทางการเมืองภาคประชาสังคม: กรณีศึกษา นายพิภพ ธงไชย วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม.

ณัฐสุวัชร์ เส็งกิ่ง. (2560) การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญเสริม นาคสาร. (2548) ศาลรัฐธรรมนูญไทยต่างจากศาลรัฐธรรมนูญอื่นและศาลรัฐธรรมนูญของต่างประเทศอย่างไร. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

วัชรมน จันรอง. (2564) การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเล่า อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เรืองเดช สุวรรณวิจิตร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนรวมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลวังหว้า อำภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560).

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

สมชาย ภคภาสนวิวัฒน ไชยา ยิ้มวิไล สุรชัย ศิริไกร. (2561). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง.” วารสาร บัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 16(1) : 41-54.

สานนท์ ด่านภักดี และคณะ. (2561). พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 7(2) (กรกฎาคม–ธันวาคม 2561) : 377-392.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2549). ภาวะผู้นำ (Leadership). สืบค้นจาก http://suthep.crru.ac.th

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อุไรวรรณ เพชรแอน. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์.9(1)(มกราคม–กุมภาพันธ์ 2567) : 319-331.

A. H. Maslow, Motivation and Personality, (New York: Harper & Row Publishing, 1954), p. 154

John D. Montgomery and William J. Siffin. (1966). Approaches to Development : politics, Adminisstration and Change. New York : McGrew Hill Book Company.

Lucian W. Pye. (1966). Aspects of Political Development. Boston :Little, Brown.

Samuel Huntington and Jorge I. Dominguez. (1975). Political Development : in the handbook of the political science: Macvopolitical theory, ed. Fred Greenstein and Nelson Polsby. Reading, Mass : Addison- Wesley.

Samuel P. Huntington. (1969). Political Order in Changing Societies. Second edition. Connecticut: Yale University Press.

Stephenson Jr., (March 1987). “The Policy and Premises of Urban Development Action program implementation: A Comparative Analysis of the Carter and Reagan Presidencies”, The Journal of the Urban Affairs Association, Volume 9 Issue 1,

Taro Yamane. (1973). Statistic: an introductory analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06

How to Cite

ลามคำ ด. . (2024). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู . วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 1(6), 61–73. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/668