ความรู้เบื้องต้นกระบวนการวิจัยเชิงสังเคราะห์

ผู้แต่ง

  • อลงกต คชสาร -

คำสำคัญ:

สังเคราะห์, วิจัย, วิชาการ, วิเคราะห์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางเลือกในการสังเคราะห์งานวิชาการและสรุปวิเคราะห์ บทความเรื่องนี้ เป็นงานวิชาการค้นหาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยเชิงสังเคราะห์ และอธิบายแนวคิดและแสดงตัวอย่างงานวิจัย ซึ่งบทความวิเคราะห์นี้ ตั้งอยู่บนหลักการตามเรื่องระเบียบวิธีการวิจัย ค้นหาข้อเท็จจริง เพื่อตอบคำถามการวิจัยและข้อค้นพบ มีความจำเป็นต้องผ่านวิธีกระบวนการในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ดังนั้น การเขียนงานวิชาการจำเป็นต้องพึ่งระเบียบวิธีการวิเคราะห์งานวิชาการ ซึ่งสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ตามแนวทางปฏิบัติได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1) บ่งชี้เป้าหมายการสังเคราะห์งานวิชาการตามหัวข้องานวิจัยที่สนใจหรือปัญหาการวิจัย ขั้นตอนที่ 2) แบ่งหัวข้องานวิจัยที่สนใจตามตัวแปรปัจจัยหรือคำสำคัญ (Keywords) อย่างน้อย 5 – 7 คำสำคัญ ขั้นตอนที่ 3) กำหนดกรอบแนวคิดการสังเคราะห์งานวิจัยแบบกว้าง ๆ เป็น 3 แบบ 3.1 รูปแบบองค์ประกอบ 3.2 รูปแบบตัวแปรสัมพันธ์ 3.3 รูปแบบเชิงกระบวนการ  ขั้นตอนที่ 4) เสาะหาและเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย พิจารณาจาก 4.1 หัวข้อเรื่องวิจัย 4.2 ปัญหาการวิจัย 4.3 ระเบียบวิธีวิจัยโดยเฉพาะกลุ่มตัวอย่าง 4.4 การอภิปรายผล เป็นต้น ขั้นตอนที่ 5) จัดหมวดหมูและคัดเลือก ขั้นตอนที่ 6) วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล ขั้นตอนที่ 7) นำเสนอผลการวิเคราะห์ โดยตารางประกอบคำบรรยายหรือค่าสถิติ ขั้นตอนที่ 8) นำเสนอผลการสังเคราะห์ โดยวิธีสรุปผล เปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่าง ให้ความคิดเห็นข้อดีและข้อเสีย รวมถึงข้อเสนอแนะที่ใช้ในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยชิ้นนั้น ๆ

          กระบวนการเชิงสังเคราะห์งานวิจัย เป็นทัศนคติที่สำคัญในการขยายพันธะของความรู้ทางวิชาการ และนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงาน เพิ่มมูลค่าของงานวิจัย ส่งเสริมให้มีการอ้างงานวิจัยเก่า ๆ มากขึ้น  ส่งเสริมการพัฒนาในงานวิชาการต่าง ๆ การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการใหม่ ๆ จำเป็นต้องใช้วิธีการสังเคราะห์ที่เป็นระบบและมีขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพและมีความเชื่อถือได้

References

ณัฐพิพัฒน์ ดอกเทียน และสุนทรา โตบัว (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงประเมินของวิทยานิพนธ์สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและประเมินทางการศึกษา. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(27), 70–78.

สมพร ปานดำ และวรวิทย์ ศรีตระกูล (2564). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านอาชีวศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการอาชีวศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรม: การสังเคราะห์งานวิจัยด้านอาชีวศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการอาชีวศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 5(2), 1-12.

Cooper, H. (2007). Evaluating and interpreting research syntheses in adult learning and literacy. Cambridge MA: National Center for the Study of Adult learning and Literacy.

Gilson, L. (2014). Qualitative research synthesis for health policy analysis: what does it entail and what does it offer? Health Policy and Planning 2014; 29:iii1-iii5.

Valentine, J. C. & Cooper, H. (2009). The Handbook of research synthesis and meta-analysis. Russell Sage Foundation. New York.

Sukjaroen, N. and Yoonisil, W. (2014). “Meta-Analysis and Meta-Synthesis”. RMU.J. (Humanities and Social Sciences). 8(3) : 43-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26