แนวทางการอนุรักษ์กลองยาวอีสาน บ้านจุมจัง ตำบลอุ่มเม่า อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การอนุรักษ์กลองยาวอีสาน, บ้านจุมจัง, จังหวัดร้อยเอ็ดบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์วงกลองยาวอีสาน 2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการอนุรักษ์วงกลองยาวอีสาน และ 3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการอนุรักษ์วงกลองยาวอีสาน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 7 กลุ่ม คือ 1) ผู้ใหญ่บ้าน 2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3) หัวหน้าวงกลองยาวอีสาน 4) สมาชิกวงกลองยาวอีสาน 5) นักวิชาการด้านวงกลองยาว 6) ประชาชน และ 7) ปราชญ์ชาวบ้าน ผลการศึกษาประเด็นแนวทางการอนุรักษ์วงกลองยาวอีสาน พบว่า ประชาชนและผู้นำในชุมชนควรจะหาวิธีจัดการกับการอนุรักษ์วงกลองยาวให้ยั่งยืน เพราะว่าในปัจจุบันมีกลุ่มประชาชนให้ความสนใจที่จะเรียนรู้และรักษาศิลปวัฒนธรรมนี้มีจำนวนน้อย ซึ่งจะส่งผลให้วัฒนธรรมท้องถิ่นอันงดงามนี้เลือนหายไป ประเด็นปัญหาและอุปสรรคอนุรักษ์วงกลองยาวอีสาน พบว่า เยาวชนสมัยใหม่ขาดความสนใจและเรียนรู้สืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมนี้ และประเด็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการอนุรักษ์วงกลองยาวอีสาน พบว่า ควรจัดกิจกรรมอบรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งเชิญชวนประชาชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังข้อมูลพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันงดงามนี้
References
คมกริช การินทร์. (2562). การพัฒนารูปแบบการแสดงของวงกลองยาวในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526). การละเล่นพื้นเมืองของชาวอีสาน. ขอนแก่น : รุ่งเกียรติ.
____________. (2530). ฟ้อนกลองยาวนาฏยลักษณ์และการประยุกต์การแสดงพื้นบ้านอีสานใน
บริบทวัฒนธรรมท้องถิ่นนิยม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
____________. (2530). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เปลื้อง ฉายรัศมี. (2550). ประวัติความเป็นมาของวงดนตรีพื้นบ้านและวงโปงลางในภาคอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม.
นพรัตน์ บัวพัฒน์. (2542). กลองยาวกับประเพณีฮีตสิบสองของชาวบ้านยางกู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิวัติ เรืองพานิช. (2539). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอนุรักษ์ป่าไม้และการมีส่วนร่วมของชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มนู ครุฑไชยยันต์. (2526). กลองยาวอีสาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. คณะมนุษย์ศาสตร์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญเลิศ จันทร. (2531). ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
พิเศษ ภัทรพงษ์. (2560). การศึกษากลองยาวในสังคมและวัฒนธรรมชาวนครสวรรค์. คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ภัสสร ลิมานนท์ และคณะ. (2535). ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่สีเขียว เขตเทศบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภูวไนย ดิเรกศิลป์. (2563). แนวคิดในการสร้างสรรค์ลายดนตรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ : จังหวัดนครสวรรค์.
สมบัติ ธํารงธัญวงศ์. (2540). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ : เอส แอนด์ จี กราฟฟิค.
สิทธิศักดิ์ จำปาแดง. (2561). กลองยาวในวิถีวัฒนธรรมของชาวอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.