การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
การประเมินผลการปฏิบัติงาน, บุคลากรสายวิชาการ, บุคลากรสายสนับสนุน, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กรของคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นและศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 102 คนคิดเป็นร้อยละ 44.11 สุ่มแบบเจาะจง ด้วยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
- บุคลากรสายวิชาการมีความเห็นว่าปัญหาในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีมากที่สุด คือระบบในการประเมินมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 25.7 ในส่วนของเกณฑ์การประเมิน พบว่าบุคลากรสายวิชาการมีระดับความเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์งานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=2.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.770) มีความเห็นเกี่ยวกับการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=2.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.793) และมีความเห็นเกี่ยวกับคะแนนผลงานสร้างชื่อเสียงเพื่อเพิ่มระดับคะแนนสุดท้ายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=2.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.868)
- บุคลากรสายสนับสนุนมีความเห็นว่าปัญหาในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีมากที่สุด คือ มีการนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนเพียงด้านเดียว จำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 20.8 ในส่วนของเกณฑ์การประเมิน พบว่ามีความเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์งานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=2.99ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.670) มีความเห็นเกี่ยวกับการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=2.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.670) และมีความเห็นเกี่ยวกับคะแนนผลงานสร้างชื่อเสียงเพื่อเพิ่มระดับคะแนนสุดท้ายในภาพรวมอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย=2.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.896) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือการพิจารณาผลงานสร้างชื่อเสียงในระดับนานาชาติ (เพิ่มร้อยละ 5 คะแนน) มีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 2.75
References
กลุ่มงานบริหารงานทรัพยากรบุคคล สำนักบริหารกลาง. (2558). การประเมินผลการปฏิบัติราชการ. กรุงเทพฯ: บริษัท สร้างสื่อ จำกัด.
จิรวัฒน์ ทิพยรส, บัญฑิต ไวว่อง และจุรีรัตน์ ว่องปลูกศิลป์. (2564). การประเมินผลการปฏิบัติงานในยุคดิสรัปชั่น. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 448-463.
ทิพยมาลี เจริญรส. (2562). คู่มือการประเมินผลการทดลองการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย. ขอนแก่น: กองทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิพวัน ชาลีวงศ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 40(1), 127-136.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญตา แจ่มแจ้ง. (ม.ป.ป.). การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือนข้าราชการในสังกัดกองการเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. ม.ป.ท.
ฝ่ายสื่อสารองค์กร. (2565). คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดสัมมนาปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการประเมินสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566 ได้มาจาก https://www.en.kku.ac.th/web/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA-3/
องอาจ นัยพัฒน์. (2558). การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา: กรอบแนวคิดและแนวทางปฏิบัติเพื่อการศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 21(1),15-33.
อรพินท์ บุญสิน. (2564). การประเมินผลการปฏิบัติงานที่สามารถทำนายหรือพยากรณ์อุปนิสัยพฤติกรรมการทำงานสมรรถนะในการทำงาน ความสำเร็จในงาน และการปรับปรุงศักยภาพในการทำงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 23(2), 49-60.
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.