แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุวีรยา ฝักฝ่ายธรรม Khon Kaen University

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ปัจจัย, การปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การบริหารงานในหน่วยงานหรือองค์การทุกระดับให้ประสบผลสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์นั้นจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและมีการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เมื่อบุคลากรขาดแรงงานจูงใจในการทำงานจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชากรจำนวน 34 คน ด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรสายสนับสนุนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีระดับแรงจูงใจในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.85) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านที่ 1 ความสำเร็จในการทำงาน มีแรงจูงใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.34) รองลงมา คือ ด้านที่ 6 ค่าตอบแทนผลประโยชน์ มีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 1.01) น้อยที่สุด คือ ด้าน 10 ความมั่นคงในงาน มีแรงจูงใจอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.17) 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน

References

กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัย พลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 6(3), 175-183.

เกศริน เอกธวัชกุล, ชัยรัตน์ จันทนดิษฐ์, ประภัสสร คุ้มสุวรรณ์, รัชชานนท์ พิพัฒน์พรไพศาล, ชาครีย์ นาคแกมแก้ว และวรวุฒิ วีระวัฒน์. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มจร, 12(1), 41-51.

จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และสุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย. (2563). แรงจูงใจในการทำงาน: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ (Work Motivation: Theory and Application). วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 425-434.

วัชริศ เจริญกุล. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนบ้านยางสูง. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จํากัด. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมือง สระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุจิรา แดงฉ่ำ. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดกรมประมง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 1-12.

สัณหจุฑา ชมภูนุช. (2563). แรงจูงใจในการทำงานส่งผลต่อความตั้งใจในการลาออกของพนักงานธนาคารในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภาพร อ่อนคำ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กรบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อรพินทร์ ชูชม. (2554). แรงจูงใจในการทำงาน: ทฤษฎีและการประยุกต์. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://aoychoo.wordpress.com/2015/10/27/3/.

Best, W. J. (1997). Research in Education. Boston MA.: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-08