การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ: เครื่องมือเพื่อการพัฒนาองค์กร

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร น่าบัณฑิต
  • นิภาพรรณ เจนสันติกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณธรรม, ความโปร่งใส, หน่วยงานภาครัฐ, เครื่องมือเพื่อการพัฒนาองค์กร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความหมาย แนวคิดของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) และวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของการนำไปใช้ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ พบว่า การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความโปร่งใส ประสิทธิภาพในการทำงาน และการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐต่อประชาชน โดยมีแนวคิดพื้นฐานภายใต้กรอบแนวคิกธรรมาภิบาล มีการเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกและการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ มีข้อดี คือ 1. ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติงานที่ยึดหลักตามมาตรฐาน มีความโปร่งใส ปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด 2. มีคุณค่าเพื่อการป้องกัน และเตือนสติ รวมถึงสะท้อนภาพลักษณ์จากทัศนคติของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่มารับบริการ และข้อเสีย คือ 1. ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้ 2. ขาดการปรับปรุงประเด็นตามข้อคำถาม 3. ไม่มีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เพื่อการพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ

References

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (ม.ป.ป.). ความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://dsdw.go.th/ita/about.

กาญจณา สุขาบูรณ์. (2566). แนวทางการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้กรอบของกฎหมาย ศึกษากรณี มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 15(2), 1-19.

กีรติกาญจน์ เจตน์ธนานันท์, รษิกา เอี่ยมเกิด, ธีรพงษ์ บุญรักษา. (2566). รูเทาทัน ITA: เครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตขององคกรภาครัฐไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 29(4), 132-148.

กุลพัทธ์ กุลชาติดิลก. (2567). การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐด้วยวงจรคุณภาพ PDCA. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 567-578.

คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา. (2566). ทำอย่างไรให้ ITA น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักกรรมาธิการ 2 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ธีระพงศ์ มลิวัลย์. (2565). การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก กรณีศึกษา สถาบันการเงินของรัฐ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(3), 197-210.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2565). รัฐสวัสดิการ: การนำไปปฏิบัติในบริบทสังคมไทยเพื่อความครอบคลุมทางสังคม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 3(3), 20-37.

เบญจวรรณ นาคนาโส. (2561). การศึกษาผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของกรมปศุสัตว์. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://manage.dld.go.th/images/Other/ผลงานวิชาการ%20ITA.pdf.

ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และสุริยานนท์ พลสิม. (2562). ระบบการประเมินคุณธรรม ความโปร่งใสและธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในเกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สรวิชญ์ เปรมชื่น. (2559). คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระบบราชการไทย. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 9(1), 37-57.

สัญญา เคณาภูมิ. (2559). วิวัฒนาการของการบริหารจัดการภาคเอกชน: ทฤษฎีองค์การและการจัดการ. วารสารรมยสาร, 14 (2), 41-55.

สำนักป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. (2563). ITA หรือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.amlo.go.th/acoc/uploads/content_attachfile/5ebcb34429cd8.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2567). คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2568). คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568. กรุงเทพฯ: บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน).

หทัยพร อ้วนภักดี. (2563). ผลการพัฒนาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) โรงพยาบาลคำม่วง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2560-2563. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 5(3), 23-29.

อัมพร ธำรงลักษณ์. (2565). การพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับองค์การภาครัฐไทย. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 7(1), 21-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-18

How to Cite

น่าบัณฑิต ธ. ., & เจนสันติกุล น. (2025). การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ: เครื่องมือเพื่อการพัฒนาองค์กร. วารสารเมธีวิจัย Savant Journal of Social Sciences, 2(2), 99–108. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/SJ_SS/article/view/1495