การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลโนนเต็งที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ใช้วิธีคัดเลือกจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1. แบบสอบถาม 2. แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมรณรงค์หาเสียง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการร่วมกิจกรรมของชุมชน
- แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า 1. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมาควรจัดกิจกรรมเชิงรุกเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในระดับชุมชน 2. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมาควรจัดเวทีสาธารณะที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง 3. สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมาควรใช้โซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ข้อมูลการเลือกตั้งเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มประชาชนในวงกว้าง
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นแนวทางในการเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา โดยการให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านกิจกรรมเชิงรุก การสร้างพื้นที่แสดงความคิดเห็นในเวทีสาธารณะ และการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อเผยแพร่ข้อมูลการเลือกตั้งอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: หจก. สามลดา.
คณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2564). การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567, จาก www.ele.dla. go.th
ณัฐกร วิทิตานนท์. (2564). ทบทวนการเลือกตั้ง อบต. 64 กับหนทางต่อไปข้างหน้า. สืบค้น 12 มกราคม 2567, จาก https://www .the101.world/sao-elections-2021-recap/
พระเมธาวินัยรส (สุเทพ พุทธจรรยา). (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนกับความสมบูรณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารการปกครอง, 43(3), 9-12.
พระเมธาวินัยรส (สุเทพ พุทธจรรยา). (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชนในศตวรรษที่ 21. วารสารการปกครอง, 43(3), 9-12.
ไพฑูรย์ มาเมือง. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 1(1), น. 25-37.
วนัส รสโหมด. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 6(1), 89-104.
วุฒิพร ลิ้มวราภัส. (2562). กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษาโพสต์ทูเดย์ และแนวหน้า (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
สถาบันพระปกเกล้า. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567, จาก https://kpi.ac.th /knowledge/book/data/494.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). การปฏิรูปประเทศ. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567, จาก ttps://web.parliament.go.th/view//secretariat/TH-TH.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566). จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567, จาก https://www. bora.dopa.go.th/.
โสภณ สุพงษ์ และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในเทศบาลตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 6(1), 89-104.
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลโนนเต็ง. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567, จาก https://www.nonteng.go.th/.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และวลัยพร รัตนเศรษฐ. (2557). รัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Bromage, A. W. (1961). Municipal and county home rule for Michigan (p. 17). Citizens Research Council of Michigan.
Bunjongparu, P. (2021). Developing participatory model for driving a network enhancing good governance for excellence: The Subdistrict Administration Organization in Nakhon Ratchasima Province. Annals of the Romanian Society for Cell Biology, 25(3), 7563-7570.
Milbrath, L. W., & Goel, M. L. (1977). Political participation: How and why do people get involved in politics (2nd ed.). Rand McNally College.
Verba, S.; Nie, N. H. and Kim, J. O. (1987). Participation and Political Equality: A Sevennation Comparison. Chicago: University of Chicago Press.
Yamane, T. (1973). Statistics An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.