ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความเครียดของข้าราชการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
กรณีศึกษากรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
คำสำคัญ:
การจัดการความเครียด, ข้าราชการ, กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลังบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความเครียด ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความเครียดของข้าราชการในกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการสังกัดกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง จำนวน 250 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการจัดการความเครียดของข้าราชการไม่แตกต่างกันโดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติมากกว่าระดับ .05 จึงไม่เป็นไปตามข้อสมมติฐานที่กำหนดไว้ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวกับงานและปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโดยรวม ไม่ส่งผลต่อการจัดการความเครียดของข้าราชการ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติมากกว่าระดับ .05 จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ส่วนปัจจัยที่มีผลจากการใช้ชีวิตแบบ New Normal ส่งผลต่อการจัดการความเครียดของข้าราชการ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่าระดับ .05 จึงเป็นตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ 3) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่เกี่ยวกับงาน ปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่มีผลจากการใช้ชีวิตแบบ New Normal โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความเครียด ได้แก่ ขาดอิสระและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ปัญหาการสื่อสาร ความไม่สมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว ปัญหาการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาด และ 5) แนวทางการแก้ไข ได้แก่ ยึดมาตรการในการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ส่งเสริมความสัมพันธ์ในองค์การ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น และเน้นการมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี
References
กรมสรรพสามิต. (2559). รายงานประจำปีกรมสรรพสามิต ประจำปีงบประมาณ 2559 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กรมสุขภาพจิต. (2548). คู่มือคลายเครียดด้วยตนเอง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
จักรกฤษ เสลา, มงคล รัชชะ, อนุ สุราช, สาโรจน์ นาคจู, และสุรเดช สำราญจิตต์. (2564). วิถีชีวิตใหม่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 24(2), 58-73.
เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
ชุติมา พระโพธิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การจัดการความเครียด และคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดสระบุรี. การ ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณรงค์ ใจเที่ยง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.
ภูริทัต ศรมณี. (2561). การจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. โครงงานวิจัยศิลปศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เมธา สุธาพันธ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศในยุค New Normal กรณีศึกษา ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเส้นทางบินกรุงเทพ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วชิระ เพ็ชรงาม และกลางเดือน โพชนา. (2559). ความเครียดของพนักงานและ ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของพนักงาน กรณีศึกษาฐานผลิตแก๊สธรรมชาตินอกชายฝั่งอ่าวไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 18(1), 10-20.
วีระชัย ชูประจิตต์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภาพ หวังข้อกลาง. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด และการเผชิญความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และเทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2559). ภาวะความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของข้าราชการตำรวจตำรวจภูธร สังกัดตำรวจภูธร ภาค 2. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียด และการเผชิญความเครียดของคนไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาทรณ์ กิจจา และอุษณา แจ้งคล้อย. (2560). ความเครียดในการทำงานของนักบัญชีในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(1), 39-53.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 ศิรวิทย์ ฉิมรักษ์, วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.