การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 14pt ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

ระเบียบการเสนอต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์ 

  •  ต้องเป็นผลงานทางวิชาการที่ไม่เคยเผยแพร่ตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
  •  ต้องเป็นผลงานทางวิชาการที่ไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารวิชาการอื่นๆ
  • ต้องเป็นผลงานทางวิชาการที่เกิดจากการค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์โดยผู้เขียนเองในสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์และสาขาวิชาที่สัมพันธ์  
  • ต้องไม่เป็นผลงานทางวิชาการที่ลอกเลียน ตัดตอนจากผลงานของบุคคลอื่น ไม่มีการคัดลอกผลงาน (plagiarism) ไม่ใช้วิธีการชักนำให้เข้าใจผิดในผลงานหรือผลการศึกษา (misconduct) หรือละเมิดจริยธรรมการทำวิจัย ขอให้ดำเนินการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวรรณกรรมทางวิชาการ โดยผ่านระบบอักขราวิสุทธิ์ ทางเว็บไซต์ http://plag.grad.chula.ac. ส่งบทความพร้อมกับแนบแบบรับรองผลการตรวจสอบการคัดลอก (ดาวน์โหลดไฟล์) และผลการตรวจสอบการคัดลอกฯ มาด้วย
  • ผู้เขียนต้องจัดเตรียมต้นฉบับตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์ และตามคำแนะนำของบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewers) 
  • ทัศนะและความเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนโดยตรง บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านผลงาน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อความคิดเห็นดังกล่าวด้วยประการทั้งปวง

หลักเกณฑ์การตีพิมพ์       

ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์ 

  • บทความวิจัย (Research Article) เป็นผลงานโดยสรุปจากการค้นคว้าทดลองหรือวิจัยทางวิชาการที่ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนได้ค้นคว้าวิจัยด้วยตัวเองอย่างกระชับและสั้นในกระบวนการวิจัยและผลการวิจัย
  • บทความวิชาการ (Academic Article) หมายถึงงานเขียนทางวิชาการ มีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยที่ผู้แต่งแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจน
  • งานวิชาการอื่นๆ ที่คณะผู้จัดทําเห็นสมควร

หลักเกณฑ์ทั่วไป     

ผลงานวิชาการที่รับพิจารณาตีพิมพ์ ต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word รูปแบบอักษร Browallia New  ตามคำแนะนำข้างล่าง และส่งไฟล์ในระบบอออนไลน์

บทความวิจัย ให้มีส่วนประกอบ ดังนี้

  • บทคัดย่อ และ Abstract  โดยให้นำบทคัดย่อขึ้นก่อน ตามด้วย Abstract   ทั้งนี้เป็นการสรุปสาระสำคัญของเรื่องโดยเฉพาะวัตถุประสงค์ วิธีการและผลสรุป ไม่ควรเกิน 250 คำ หรือ 15 บรรทัด และให้ระบุคำสำคัญ (Key words) ท้ายบทคัดย่อ และ Abstract  จำนวนไม่ 3 - 5  คำ และไม่ควรใช้คำย่อในบทคัดย่อ  ทั้งนี้บทคัดย่อ และ Abstract  ต้องมีเนื้อหาตรงกัน
  • บทนำ
  • วิธีดำเนินการวิจัย
  • ผลการวิจัยและการอภิปรายผล
  • ข้อเสนอแนะ
  • เอกสารอ้างอิง                                                                                                                       

บทความทางวิชาการอื่นๆ ให้มีองค์ประกอบดังนี้                                                           

  • บทคัดย่อ และ Abstract
  • บทนำ 
  • เนื้อหาสาระ
  • บทสรุป
  • เอกสารอ้างอิง

 หมายเหตุ: นักศึกษาที่ส่งบทความวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ จะต้องมีคำรับรองจากประธาน หรือ กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์หลักให้พิจารณาลงพิมพ์เผยแพร่

 การเตรียมต้นฉบับ 

  • ขนาดของต้นฉบับ ขนาด A4  และเว้นระยะห่างระหว่างขอบกระดาษ ด้านบนและซ้ายมือ 1.25 นิ้ว ด้านล่างและขวามือ 1 นิ้ว  
  • รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้รูปแบบอักษร Browallia New  ทั้งเอกสาร พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ขนาด ชนิดของตัวอักษร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่งดังนี้

          2.1 หัวกระดาษ ประกอบด้วย เลขหน้าขนาด 12 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา 

          2.2 ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษขนาด 16 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ ความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด

         2.3 ชื่อผู้เขียน ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวาใต้ชื่อเรื่อง ทั้งนี้ให้ใส่หมายเลขเป็นตัวยกกำกับท้ายนามสกุลของผู้เขียนแต่ละคน  และกรณีที่มีผู้ร่วมเขียนหลายคน ให้ระบุ Correspoding Author's E-mail Address ด้วย

         2.4 เชิงอรรถ กำหนดเชิงอรรถในหน้าแรกของบทความ ส่วนแรกกำหนดข้อความ “ตำแหน่งและหน่วยงานหรือสังกัดที่ทำวิจัย” ของผู้เขียนแต่ละคน เป็นภาษาไทย ขนาด 10 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา  ในส่วนสุดท้ายกำหนดข้อความ  “*  ระบุเฉพาะแหล่งทุนและหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ”  เช่น “งานวิจัยเรื่องนี้ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากทุนงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง” เป็นต้น

        2.5 หัวข้อบทคัดย่อ ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้ายใต้ชื่อของผู้เขียน เนื้อหาบทคัดย่อ ขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้ายและพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน 

       2.6 หัวข้อคำสำคัญ  ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ใต้บทคัดย่อ เนื้อหาภาษาไทยขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา ไม่เกิน 3 คำ เว้นระหว่างคำด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (;)   

       2.7 หัวข้อ Abstract  ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ใต้คำสำคัญภาษาไทย เนื้อหาใน Abstract ขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้ายและพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน   

       2.8 Keywords ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้ายใต้ Abstract  เนื้อหาภาษาอังกฤษ ขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา 3 - 5 คำ เว้นระหว่างคำด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (;)     

       2.9 หัวข้อหลักทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 15 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย 

       2.10 หัวข้อย่อยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวหนา Tab 1.5 เซนติเมตร จากอักษรตัวแรกของหัวข้อเรื่อง

       2.11 เนื้อหาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 พ๊อยต์ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้ายและพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน

       2.12 อ้างอิง (References)  การอ้างอิงเอกสารให้เขียนตามแบบ APA (American Psychological Association)

 3. จำนวนหน้า บทความต้นฉบับมีความยาวประมาณ 15 หน้า A 4

     การจัดทำต้นฉบับกำหนดให้ใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น ในกรณีเขียนเป็นภาษาไทย ควรแปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด ยกเว้นในกรณีที่คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นคำเฉพาะที่แปลไม่ได้หรือแปลแล้วไม่ได้ความหมายชัดเจนให้ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษได้และควรใช้ภาษาที่ผู้อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน โดยเนื้อหาต้องเรียงลำดับตามหัวข้อดังนี้  

ลำดับหัวข้อในการเขียนต้นฉบับบทความวิจัย 

  • ชื่อเรื่อง ควรสั้น และกะทัดรัด ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน                        
  • ชื่อผู้เขียน เป็นภาษาไทย หากเกิน 6 คนให้เขียนเฉพาะคนแรกแล้วต่อท้ายด้วย “และคณะ”   
  • ชื่อหน่วยงานหรือสังกัด ที่ผู้เขียนทำงานวิจัยเป็นภาษาไทย    
  • บทคัดย่อ และ Abstract  โดยเขียนสรุปเฉพาะสาระสำคัญของเรื่อง อ่านแล้ว เข้าใจง่าย ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ หรือ 15 บรรทัด โดยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อน ทั้งนี้บทคัดย่อ และ Abstract ต้องมีเนื้อหาตรงกัน
  • คำสำคัญ (Keywords) ให้อยู่ในตำแหน่งต่อท้ายบทคัดย่อ และ Abstract  3 - 5 คำ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในการเลือกหรือค้นหาเอกสารที่มีชื่อเรื่องประเภทเดียวกันกับเรื่องที่ทำการวิจัย
  • บทนำ เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมา และเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย และควรอ้างอิงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • วัตถุประสงค์ ชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา
  • กรอบแนวคิด (ถ้ามี) ชี้แจงความเชื่อมโยงตัวแปรต้นและตัวแปรตามในการทำการวิจัย
  • ระเบียบวิธีการวิจัย ควรอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง และที่มาของกลุ่มตัวอย่าง)  การสร้างและพัฒนาคุณภาพเครื่องมือ การเก็บและรวบรวมข้อมูล  และการวิเคราะห์ข้อมูล   
  • ผลการวิจัย เป็นการเสนอสิ่งที่ได้จากการวิจัยเป็นลำดับ อาจแสดงด้วยตาราง กราฟ แผนภาพประกอบการอธิบาย ทั้งนี้ ตารางควรมีเฉพาะที่จำเป็น  สำหรับรูปภาพประกอบควรเป็นรูปภาพขาว-ดำที่ชัดเจน และมีคำบรรยายใต้รูป
  • อภิปรายผล ควรมีการอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด และควรอ้างทฤษฎีหรือเปรียบเทียบการทดลองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นด้วยตามหลักการหรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม
  • ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับงานวิจัยควรเป็นข้อเสนอแนะที่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง หรือข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต           
  • ผู้เขียน/คณะผู้เขียน ในส่วนท้ายของบทความ ให้เรียงลำดับตามรายชื่อโดยระบุตำแหน่งทางวิชาการ ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และ e-mail ของทุกท่าน

การเขียนเอกสารอ้างอิง                                                           

          การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่อง ให้อ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบนาม-ปี (Author – date on text citation) รวมทั้งให้มีการอ้างอิงท้าย เล่ม (Reference citation) โดยรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนอ้างอิงที่ปรากฏเฉพาะในบทความเท่านั้น และจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งโดยใช้ระบบอ้างอิงมาตรฐานเอพีเอ (APA Style)  

การอ้างอิง APA (6th Edition)

รูปแบบ การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา หน้าข้อความ ท้ายข้อความ  เชิงอรรถ (ท้ายบทความ)

ผู้แต่ง 1 คน

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ นามสกุล (ปี) เช่น Robbin (2005) อ้างว่า. . .

          กรณี การอ้างท้ายข้อความ (นามสกุล, ปี) เช่น . . . (Robbin, 2005)

          เอกสารอ้างอิง

          นามสกุลผู้แต่ง, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

          เช่น Hughes, O.E. (1994). Public Management and Administration: An Introduction. New York: St. Martin’ Press.

ผู้แต่ง 2-4 คน <

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ:  นามสกุล1 and นามสกุล2 (ปี) เช่น  Peters and Waterman (1982) อ้างว่า . . .

          กรณี การอ้างท้ายข้อความ:  (นามสกุล, ปี) เช่น  . . . (Peters and Waterman, 1982) 

          เอกสารอ้างอิง

          นามสกุลผู้แต่ง 1, ชื่อย่อ and นามสกุลผู้แต่ง 2, ชื่อย่อ., (ปี). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

          เช่น Peters, T. and Waterman Jr. R. (1982). In Search of Excellence. New York: Harper & Row.

ผู้แต่ง 5 คนขึ้นไป

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ:  นามสกุล 1 และคณะ (ปี)

            เช่น  Christensen et. al. (2013) อ้างว่า . . .

          กรณี การอ้างท้ายข้อความ (นามสกุล 1 และคณะ, ปี)

          เช่น  . . . (Christensen et. al., 2013) 

          เอกสารอ้างอิง

          นามสกุลผู้แต่ง 1, ชื่อย่อ. และคณะ. (ปี). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

          เช่น  Christensen, T. et. al.  (2013). New public management: The transformation of ideas and practice. New York: Prentice-Hall.

ผู้แต่งนามแฝง

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ ชื่อนามแฝง (ปี)

           เช่น  C-12 (2013) อ้างว่า . . .

           กรณี การอ้างท้ายข้อความ:  (ชื่อนามแฝง, ปี)

           เช่น  . . . (C-12, 2013) 

           เอกสารอ้างอิง

           นามแฝง. (ปี). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

           เช่น C-12. (2013). Thai Bureaucracy. Bangkok: Wattana Publishing.

หนังสือแปล

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความนามสกุลผู้แต่งต้นฉบับ (ปี)

           เช่น  Huntington & Nelson (2013) อ้างว่า . . .

          กรณี การอ้างท้ายข้อความ:  (นามสกุลผู้แต่งต้นฉบับ, ปี)

           เช่น  . . . (Huntington & Nelson, 2013)

          เอกสารอ้างอิง

          นามสกุลผู้แต่ง 1, ชื่อย่อ., & นามสกุลผู้แต่ง 2, ชื่อย่อ. (ปีที่แปล). ชื่อเรื่องที่แปล [ชื่อเรื่องต้นฉบับ]. (ชื่อ-นามสกุลผู้แปล, ผู้แปล). (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. (ปีต้นฉบับที่พิมพ์).

         เช่น Huntington, S.P. & Nelson, J. (2001). No Easy Choice: ทางเลือกของมวลประชา [No Easy Choice]. (สิทธิพันธ์ พุทธหุน, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (1976).

กรณีไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อเรื่องแทนผู้แต่ง

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ:  “ชื่อเรื่อง” หรือ “ชื่อบทที่” หรือ “ชื่อบทความ” (ปี)

          กรณี การอ้างท้ายข้อความ (“ชื่อเรื่อง” หรือ “ชื่อบทที่” หรือ “ชื่อบทความ”, ปี)

          เอกสารอ้างอิง

         ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). (ปี). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

การอ้างอิงเอกสารทุติยภูมิ (Secondary Source) (อ้างอิงในเนื้อหา)

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ นามสกุลผู้แต่งเอกสารต้นฉบับ (ปี ต้นฉบับ) (อ้างถึงในหรือ as cited in        นามสกุลผู้แต่งทุติยภูมิ, ปีของเอกสารทุติยภูมิ)

           กรณี การอ้างท้ายข้อความ:  (นามสกุลผู้แต่งเอกสารต้นฉบับ, ปี ต้นฉบับ อ้างถึงในหรือ as cited in นามสกุลผู้แต่งทุติยภูมิ, ปี ของเอกสารทุติยภูมิ)

          เอกสารอ้างอิง

          ผู้เขียนอ้างอิงแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เหตุเพราะไม่สามารถเข้าถึงหรือสืบค้นหาต้นฉบับเดิมได้ การเขียนอ้างอิงข้อมูลทุติยภูมิในเอกสารอ้างอิงท้ายบทหลักการอ้างอิงเหมือนกับรายการหนังสือทั่วไป คือ

          นามสกุลผู้แต่งทุติยภูมิ, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อเรื่องต้นฉบับ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

เอกสารรายงานการวิจัย

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ:  นามสกุลผู้วิจัย 1, and นามสกุลผู้วิจัย 2, (ปี)

           กรณี การอ้างท้ายข้อความ:  (นามสกุลผู้วิจัย 1, and นามสกุลผู้วิจัย 2, ปี)

          เอกสารอ้างอิง

          นามสกุลผู้วิจัย 1, ชื่อย่อ., & นามสกุลผู้วิจัย 2, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อเรื่อง (รายงานผลการวิจัย). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ดุษฎีนิพนธ์ ป.เอก

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ:  นามสกุลผู้วิจัย (ปี)

          กรณี การอ้างท้ายข้อความ:  (นามสกุลผู้วิจัย, ปี)

          เอกสารอ้างอิง

          นามสกุลผู้วิจัย, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อเรื่อง. (ปริญญานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต). ชื่อสถาบัน. สถานที่พิมพ์.

วิทยานิพนธ์ ป.โท

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ:  นามสกุลผู้วิจัย (ปี)

           กรณี การอ้างท้ายข้อความ (นามสกุลผู้วิจัย, ปี)

          เอกสารอ้างอิง

           นามสกุลผู้วิจัย, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อเรื่อง. (วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต).ชื่อสถาบัน. สถานที่พิมพ์.

บทความวารสาร

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ:  นามสกุลผู้เขียน 1, นามสกุลผู้เขียน 2, and นามสกุลผู้เขียน 3 (ปี)

            กรณี การอ้างท้ายข้อความ (นามสกุลผู้เขียน 1, นามสกุลผู้เขียน 2, นามสกุล ผู้เขียน 3, ปี)

           เอกสารอ้างอิง

          นามสกุลผู้เขียน 1, ชื่อย่อ., นามสกุลผู้เขียน 2, ชื่อย่อ., & นามสกุลผู้เขียน 3, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. เลขปีที่(เลขฉบับที่), เลขหน้าแรก-เลขหน้าสุดท้ายของบทความ.

เอกสารการประชุมทางวิชาการ (proceeding)

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ:  นามสกุลผู้เขียน (ปี)

            กรณี การอ้างท้ายข้อความ (นามสกุลผู้เขียน, ปี)

           เอกสารอ้างอิง

           นามสกุลผู้เขียน, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อบทความ. ใน หรือ in ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก. หรือ Ed. หรือ Eds.), ชื่อการประชุม (น. หรือ pp. เลขหน้าแรก-ถึงหน้าสุดท้าย). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

หนังสือพิมพ์

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ นามสกุลผู้เขียน (ปี)

            กรณี การอ้างท้ายข้อความ (นามสกุลผู้เขียน, ปี)

           เอกสารอ้างอิง

           นามสกุลผู้เขียน, ชื่อย่อ. (ปี, วัน เดือน). ชื่อคอลัมน์/ชื่อข่าว. ชื่อหนังสือพิมพ์. น. หรือ pp. เลขหน้าแรก-เลขหน้าสุดท้ายของคอลัมน์/ชื่อข่าว.

อ้างอิงเว็บไซต์

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ:  นามสกุลผู้เขียน (ปี)

            กรณี การอ้างท้ายข้อความ (นามสกุลผู้เขียน, ปี)

           เอกสารอ้างอิง

           นามสกุลผู้เขียน, ชื่อย่อ. (ปี). ชื่อหัวข้อ. สืบค้น เดือน วัน, ปี, จาก http://www.xxxxxxxxxx เช่น

           ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2559). ปรับบทบาทภาครัฐไทย…ให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี. สืบค้นเมื่อ มกราคม 3, 2563, จาก https://thaipublica.org/2016/03/tdri-2016/

สถาบัน/องค์กร/สมาคม/ชมรม

อ้างอิงจากหน่วยงาน สถาบัน หรือองค์กร อ้างอิงครั้งแรกใช้ชื่อเต็ม ส่วนอ้างอิงครั้งต่อไปใช้อักษรย่อ

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ ชื่อเต็มของหน่วยงาน (อักษรย่อ, ปี)

            กรณี การอ้างท้ายข้อความ (ชื่อเต็มของหน่วยงาน [อักษรย่อ], ปี)

           เอกสารอ้างอิง

          ชื่อเต็มของสถาบันหรือหน่วยงาน. (ปี). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

 สัมภาษณ์(Interview)/Focus Group

สัมภาษณ์/Interview

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ:  ชื่อ-นามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์ (ปี)

           กรณี การอ้างท้ายข้อความ:  (ชื่อนามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์, ปี)

          เอกสารอ้างอิง

          ชื่อ-นามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์,  (ปี). ตำแหน่ง/สถานะ/บทบาทหน้าที่. สัมภาษณ์. เดือน, วัน

 การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย/FocusGroup

ตัวอย่าง กรณี การอ้างหน้าข้อความ ชื่อ-นามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์ (ปี)

            กรณี การอ้างท้ายข้อความ:  (ชิ่อ-นามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์, ปี)

           เอกสารอ้างอิง

           ชื่อ-นามสกุลผู้ให้สัมภาษณ์. (ปี). ตำแหน่ง/สถานะ/บทบาทหน้าที่. การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย. เดือน, วัน.

กรณีผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ประสงค์จะให้ระบุชื่อ-นามสกุล อนุโลมให้ใช้ "ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1/2/3..." แทนได้ และจะต้องรักษาจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด

***กรณีที่เอกสารแต่งโดยผู้แต่งโดยใช้ภาษาไทย ให้ใช้ ชื่อ-นามสกุล(ปี) แทนเอกสารภาษาอังกฤษที่ใช้ นามสกุล(ปี)

ขั้นตอนการส่งบทความ On line เพื่อการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร 

การสมัครสมาชิก (Register)  (ถ้าเป็นสมาชิกของวารสารแล้ว ให้เข้าสู่ระบบ log in และไปยังขั้นตอนการ Submission ) 

  1. สร้าง Username / Password 
  2. สร้าง Profile ( ชื่อ, Email, รายละเอียดข้อมูลต่างๆ)
  3. ยืนยันการสมัครสมาชิกทาง Email 

การส่งบทความ (Submission) 

  1. คลิก Author ในช่อง User Home 
  2. คลิก Click Here ใน Start a New Submission                                                  

      Step 1 :  เลือกทุกช่อง เพื่อเป็นการยืนยันว่าบทความของท่านเป็นไปตามเงื่อนไขที่วารสารกำหนด

      Step 2 :  อัพโหลดบทความเป็นไฟล์ word

      Step 3 :  กรอกรายละเอียดข้อมูลต่างๆสำหรับบทความของท่าน เช่น Author, Title (ภาษาไทยต่อท้ายด้วยภาษาอังกฤษในวงเล็บ), abstract, keywords, references

      Step 4 :  หากมีไฟล์ตารางหรือรูปภาพ ให้ทำการอัพโหลดเหมือนขั้นตอนที่ 2 หากไม่มี ให้ทำการ save and continue เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป                   

      Step 5 :  เสร็จสิ้นการ submission และเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบโดย editor ต่อไป

 

บทความวิจัย

บทความวิจัยที่เป็นผลจากการวิจัยของผู้เขียน หรือคณะผู้เขียน มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์ รัฐประศานศาสตร์หรือศาสตร์ที่สัมพันธ์ โดยมีการประมวลสรุปอย่างกระชับและสั้นในกระบวนการวิจัย ผลการวิจัยและการอภิปรายผล

บทความวิชาการ

บทความทางวิชาการที่เป็นผลจากการศึกษา มีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบาย วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างชัดเจน อย่างเป็นระบบโดยอาศัยศาสตร์ทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือศาสตร์ที่สัมพันธ์เป็นเครื่องมือ อาจเป็นการนำเอาความรู้จากแหล่งต่างๆ มาร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยผู้แต่งได้แสดงทัศนะของตนไว้อย่างชัดเจน

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ