การใช้เครื่องมือรัฐตำรวจกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2562

ผู้แต่ง

  • ดิษฐพงษ์ แตงโสภา นักศึกษาโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กฤติธี ศรีเกตุ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศุภชัย ศุภผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • จักรี ไชยพินิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

เครื่องมือรัฐตำรวจ, การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย, กลไกการใช้อำนาจรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเรื่อง การใช้เครื่องมือรัฐตำรวจกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะของเครื่องมือรัฐตำรวจในยุคต่างๆของการเมืองไทยจากปีพ.ศ.2475-2562 (2) กระบวนการนำเครื่องมือรัฐตำรวจมาใช้ในยุคต่างๆของการเมืองไทย และ(3) ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงจากการใช้เครื่องมือรัฐตำรวจในการเมืองไทยยุคสมัยต่างๆ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่ปรากฏการใช้เครื่องมือรัฐตำรวจในทางการเมืองและการสัมภาษณ์เจาะลึกของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำมาศึกษาวิจัยในภาพรวมของการนำเครื่องมือรัฐตำรวจมาใช้ในทางการเมือง และนำมาวิเคราะห์ในเชิงตรรกะแบบ     นิรนัยโดยใช้กรอบแนวคิดของ หลุยส์ อัลธูแซร์ ในเรื่องของอุดมการณ์และกลไกอุดมการณ์ของรัฐ และแนวคิดของ อันโตนีโอ กรัมชี่ ในเรื่องของการครองอำนาจนำ มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยผลการวิจัยพบว่า (1) เครื่องมือรัฐตำรวจมีลักษณะในแบบดั้งเดิมและแบบเครื่องมือรัฐตำรวจอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีลักษณะแบบทางตรงจากตัวผู้ครองอำนาจและแบบทางอ้อมจากกลุ่มบุคคลดำเนินการ (2) โดยถูกนำมาใช้ผ่านกลไกอำนาจรัฐในเชิงปราบปรามและเชิงอุดมการณ์ ทั้งในกฎหมายและนอกกฎหมาย (3) ทำให้เกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมการเมืองและประชาสังคมที่ถูกบีบบังคับและครอบงำจนเกิดชุดความคิดทางการเมืองที่ขัดแย้งกันนำมาสู่ความแตกแยกทางสังคมอย่างรุนแรง และยิ่งเทคโนโลยีการสื่อสารสนเทศในยุคปัจจุบันที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและถูกครอบงำได้ง่ายเช่นกัน ส่งผลกระทบต่อจิตใจและอุดมการณ์ทางการเมืองของคนในสังคมนำไปสู่ความขัดแย้งในชุดความเชื่อที่แตกต่างกัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างอำนาจและรักษาอำนาจทางการเมืองของผู้ที่ได้ครอบครองอำนาจรัฐเท่านั้น

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). อุดมการณ์และกลไกอุดมการณ์ของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด.

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2549). รัฐตำรวจสมัยใหม่: ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมภายใต้รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร พ.ศ. 2544-2549. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชิตพล กาญจนกิจ. (2539). การสร้างอำนาจและรักษาอำนาจทางการเมืองของพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐานิดา บุญวรรโณ. (2559). บทบรรณาธิการ I: Le Vieil Alt ผู้เฒ่า Alt. สืบค้นเมื่อ เมษายน 30, 2563 จาก http://www.jssnu.socsci.nu.ac.th/issue/52/article/252

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2559). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. (พิมพ์ครั้งที่ 2) . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นรนิติ เศรษฐบุตร.(2557).ยิงทิ้ง 4 อดีตรัฐมนตรี , ยิงทิ้ง 4 อดีตรัฐมนตรี (2) เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 18, 2563, จาก https://www.dailynews.co.th/article/222581 และ https://www.dailynews.co.th/article/224231

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2564). อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สัมภาษณ์ส่วนบุคคล. พฤษภาคม 5, 2564.

วัชรพล พุทธรักษา. (2549). รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสร้างภาวการณ์ครองอำนาจนำ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรพล พุทธรักษา. (2557). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมมติ.

พวงทอง ภวัครพันธุ์. (2562). กิจการพลเรือนของทหารในยุคประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้ง:พัฒนาการและความชอบธรรม. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 15 (1), 217-247.

พวงทอง ภวัครพันธุ์. (2562). มรดกของพลเอกเปรม : การขยายมวลชนจัดตั้งของรัฐ. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 17, 2563, จาก https://www.the101.world/heritage-of-prem-tinsulanonda/

ศราวุฒิ วิสาพรม. (2559). ราษฎรสามัญ หลังวันปฏิวัติ 2475. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

สุรพงษ์ ชัยนาม. (2557). ใครเป็นซ้าย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด.

Althusser, L. (2014). On the Reproduction of Capitalism Ideology and Ideological State Apparatuses. London: New left books.

Birkett, S. (2018). The Return of Neo-Nationalism? สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 15, 2562, จาก https://theadhocglobalists.files.wordpress.com/2016/12/the-return-of-neo-nationalism.pdf

Cryptohippie's. (2008). 2008 Electronic Police State rankings. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 6, 2562, จาก https://www.cryptohippie.com/

Gramsci, A. (1971). Selection from the prison notebooks. New York.. Columbia University Press.

เผยแพร่แล้ว

12-07-2025

How to Cite

แตงโสภา ด. ., ศรีเกตุ ก. ., ศุภผล ศ. ., & ไชยพินิจ จ. . (2025). การใช้เครื่องมือรัฐตำรวจกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2562. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(1), 136–171. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2130