การวิเคราะห์เนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และภาษากับระดับเรตติ้งในละครหลังข่าว

ผู้แต่ง

  • วิสาขา เทียมลม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

ความรุนแรง, เพศ, ภาษา, ละครโทรทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์เนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และภาษา กับระดับเรตติ้งในละครหลังข่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาด้านความรุนแรง  เพศ  และภาษาในละครหลังข่าวของช่องโทรทัศน์  ในระดับเรตติ้งประเภท ท และ น13+  โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาที่ใช้ในการศึกษาคือ วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยศึกษาจากละครหลังข่าวจำนวน 4 เรื่องคือ กลิ่นกาสะลอง เมียน้อย  ใบไม้ที่ปลิดปลิว และสองนรี   โดยใช้หลักเกณฑ์การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ของ กสทช. ด้านความรุนแรง (Violence) เพศ (Sex) และการใช้ภาษา (Language) พ.ศ. 2556 มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ซึ่งผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1) ผลการวิเคราะห์เนื้อหาในภาพรวมของความรุนแรง เพศ ภาษา ในละครหลังข่าวของช่องโทรทัศน์ พบว่าละครเรื่องกลิ่นกาสะลองของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 มีจำนวนฉากของความรุนแรง เพศ และภาษามากที่สุด โดยมีจำนวนฉากโดยเฉลี่ย/ตอน รวม 9.79 รองลงมาคือละครเรื่องสองนรีของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 มีจำนวนฉากของความรุนแรง เพศ และภาษาโดยเฉลี่ย/ตอนรวม 9.13

2) ผลการวิเคราะห์เนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และการใช้ภาษา กับระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ที่ระบุ พบว่าละครเรื่องกลิ่นกาสะลองและเรื่องเมียน้อยที่ถูกจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ในระดับ  มีเนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และภาษา เกินระดับที่ระบุ ส่วนละครเรื่องใบไม้ที่ปลิดปลิว และเรื่องสองนรี ที่ถูกจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ในระดับ น13+  มีเนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และภาษา เกินระดับที่ระบุ เช่นกัน

ดังนั้นผลการศึกษาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นปัญหาทั้งในส่วนหลักเกณฑ์  และแนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์โดยหน่วยงานกำกับดูแล การจัดระดับความเหมาะสมโดยผู้ประกอบการ  ตลอดจนความร่วมมือจากภาคประชาชน และความเข้าใจของผู้รับชมเกี่ยวกับความรุนแรง เพศ และภาษา

References

โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor). (2548). รายงานผลการศึกษารอบที่ 1: รายการละครในช่วงเวลาเด็กเยาวชนและครอบครัวทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา.

โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor). (2558). รายงานผลการศึกษารอบที่ 87 จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก: ศึกษาเปรียบเทียบโทรทัศน์ดิจิทัลช่องที่ได้รับความนิยมช่วงตุลาคม 2557 และมกราคม 2558. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา.

มติชนออนไลน์. (2560). กสทช.สั่งปรับช่อง 3 เอชดี 5 หมื่นเหตุละคร เพลิงบุญจำกัดเรตติ้งไม่ตรง-พร้อมไฟเขียวลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทีวีดิจิทัล. สืบค้นจาก

https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_699959

ลักษมี คงลาภและคณะ. (2552). (เมื่อ 4 มกราคม 2564). การวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ครั้งที่ 1. สืบค้นจาก file:///C:/Users/user/Downloads/11.pdf

วิชิตโชค อินทร์เอียด. (2560). แนวทางการกำกับการนำเสนอเนื้อหาละคร โทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน. วารสารวิชาการ กสทช. ประจำปี 2560. 290-315.

วิรยาพร กมลธรรม. (2561). ความรุนแรงที่ปรากฏในสื่อ กรณีศึกษา ละครโทรทัศน์เรื่อง ล่า 2017. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สัณฐิตา นุชพิทักษ์. (2552). ความร้ายกาจของตัวละครในละครโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงาน กสทช สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. (2556). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่องแนวทางการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2556. สืบค้นจาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/570500000001.pdf

สำนักวิจัยเอแบคโพลล์. (2552). วัยรุ่นไทยกับการใช้ความรุนแรง. สืบค้นจาก

ttp://www.clinicdek.com/index.php?option=com_content&task=view&id =632.

อารดา ครุจิต. (2554). การวิเคราะห์เนื้อหาทางเพศ และความรุนแรง และการใช้ภาษาในรายการโทรทัศน์ระดับเรตติ้งประเภท “ท” ทุกวัย: รายการทั่วไปเหมาะสำหรับผู้ชมทุกวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

เทียมลม ว. . (2025). การวิเคราะห์เนื้อหาด้านความรุนแรง เพศ และภาษากับระดับเรตติ้งในละครหลังข่าว. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 162–198. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2038