การดำเนินโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ บ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงฯ บ้านป่าคา, ความร่วมมือ, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง "การดำเนินโครงการพระราชดำริของสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร" โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและลักษณะความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินงาน และการเปิดโอกาสให้เกษตรกรในพื้นที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงฯ บ้านป่าคา (2) เพื่อศึกษาสาเหตุที่เกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ ให้และไม่ให้ความร่วมมือในการยอมรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ ที่โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงฯ บ้านป่าคา ได้นำเข้าไปส่งเสริม และ (3) เพื่อหาแนวทางสร้างความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ/หน่วยงานที่เข้ามาร่วมดำเนินงานและเกษตรกรในพื้นที่ ตลอดจน ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสาธารณะ ให้เกษตรกรมีความตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวม การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ หัวหน้าสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงฯ บ้านป่าคา หน่วยงานร่วมขับเคลื่อนโครงการฯ 9 ราย และสนทนากลุ่มย่อย กลุ่มผู้นำชุมชนและตัวแทนประ ชาชน จำนวน 15 ราย
ผลการศึกษาพบว่า ความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ/หน่วยงาน เป็นรูปแบบคณะกรรมการและคณะทำงาน รูปแบบลักษณะการทำงานร่วมกัน 2 ระดับ คือ ระดับการประสานงานและระดับการประสานความร่วมมือ สำหรับการร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและชาวบ้านจำกัดอยู่ที่ผู้แทนชุมชน สาเหตุที่เกษตรกรยังปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากกว่าพืชเศรษฐกิจที่ภาครัฐเข้าไปสนับสนุนเพราะรูปแบบส่งเสริมไม่เหมาะสม ขาดการมีส่วนร่วม ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น โครงสร้างพื้นฐานไม่เอื้ออำนวย และการสื่อสารไม่ชัดเจนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและชาวบ้าน สำหรับแนวทางการพัฒนาคือสร้างความร่วมมือให้มากยิ่งขึ้น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะ และการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็งเพื่อร่วมกันพัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป
References
พีรดนย์ วิชารักษ์. (2555). ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาและอนุรักษ์เขตพื้นที่ต้นน้ำตามโครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2555). การศึกษาและรวบรวมตัวอย่างการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ เอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิมานทอง ชีพสุกใส. (2565). บทบาทของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันในพื้นที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิลัยลักษณ์ สุไสวรินานนท์. (2558). แนวทางการพัฒนาความร่วมมือการได้รับใบอนุญาตระหว่าง กสทช. และผังเมืองกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านป่าคา. (2562). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์).
สำนักงาน กปร. (มปป.). ประวัติความเป็นมาของโครงการ. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566. จาก https://www.rdpb.go.th/th/Projects/
อโศก พลบำรุง. (มปป.) แนวคิดการประสานความร่วมมืออย่างมีธรรมาภิบาล. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566. จาก https://pmua.or.th/wp-content/uploads/2023/10/5. -แนวคิดความร่วมมือภาคีเสริมพลัง.pdf
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 พิศชนก ง้าวกาเขียว, ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.