ผลสัมฤทธิ์ของการบริหารการจัดการเลือกตั้งของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดเชียงราย ในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2567
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์, การบริหารการจัดการเลือกตั้ง, คณะกรรมการการเลือกตั้ง, จังหวัดเชียงรายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการบริหารการจัดการเลือกตั้งของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงราย โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งประกอบด้วย 4 มิติหลัก ได้แก่ มิติประสิทธิผลตามพันธกิจ มิติคุณภาพบริการ มิติประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และมิติการพัฒนาองค์การ ผลการศึกษาพบว่า สามารถบรรลุวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ได้บางส่วนในมิติคุณภาพบริการ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาองค์การ แต่ยังไม่สามารถบรรลุผลในมิติประสิทธิผลตามพันธกิจได้ ทั้งนี้ มีแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุง เช่น การสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนในกระบวนการเลือกตั้ง การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการเลือกตั้ง และการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อสนับสนุนภารกิจ การศึกษาปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จที่ส่งผลต่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเลือกตั้ง พบว่า ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกองค์กร 2) ด้านองค์ประกอบภายในองค์กร 3) ด้านนวัตกรรม และ 4) ด้านการเงิน และความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย การบังคับใช้ ตลอดจนรูปแบบ วิธีการสร้างจิตสำนึก พบว่า กฎหมายมีความสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลและหลักกฎหมายที่ดีในบางประการ ได้แก่ การตรวจสอบได้ การปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และความโปร่งใส แต่ยังไม่สอดคล้องในด้านการมีส่วนร่วม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการ คือ เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและเจ้าหน้าที่หน่วยงานสนับสนุน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
References
กานต์ วรฉัตร. (2563). ผู้ตรวจการเลือกตั้ง: บทเรียนจากการทำหน้าที่ตรวจสอบการเลือกตั้ง. สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2568, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/download/ 244969/166108/
ฉัตรวดี ห่อทอง. (2565). Raising the customs clearance standards and the infrastructures for trading facilitation of Chiang Khong customs house, Chaing Rai province. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนาวุฒิ บัวละวงค์. (2564). แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วุฒิ บุญยงค์. (2567). การบังคับใช้มาตรการสำหรับภาษีสินค้ายาเส้นต่อผู้ประกอบการโรงอุตสาหกรรมยาสูบและยาเส้นในพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. เอกสารประกอบการสอน กระบวนวิชา 128701 ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ Modern Public Administration Theory. ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565. เอกสารประกอบการสอน,คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2541). ระบบบริการงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์. โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพในส่วนราชการ: ระบบบริการงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563ก). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2567, จาก https://www.ect.go.th/ect_th/th/db_119_ect_th_cms_1/4582
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563ข). รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: บริษัท วิสม่ำ เอเชีย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: บริษัท วิสม่ำ เอเชีย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงราย. (2567). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2567. เชียงราย: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). Results-Based Management: การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
International Institute for Democracy and Electoral Assistance. (2557). การออกแบบการจัดการการเลือกตั้ง. (สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, ผู้แปล) สตอร์คโฮล์ม, สวีเดน: สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1992). The Balanced Scorecard: Measures that drive performance. Harvard Business Review, 70(1), 71–79.
Rockart, J. F. (1979). Chief Executives Define Their Own Data Needs. Harvard Business Review, 57(2), 81–93.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 ภัทรดร ชยตธัญสร, ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.