บทสำรวจสถานะของผู้นำระดับตำบลกับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • เมทินา อิสริยานนท์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ผู้นำระดับตำบล, การบริหารท้องถิ่น, การกระจายอำนาจ, ความเป็นพลเมือง, ประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาบทบาทของผู้นำระดับตำบลในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย โดยเน้นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการปกครองและการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ผู้นำระดับตำบลมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการบริหารจัดการชุมชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการทรัพยากร และการส่งเสริมความโปร่งใส โดยบุคคลในกลุ่มนี้ ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น อสม., อพม., และ อปพร.  ทั้งหมดนี้มีส่วนในการ

สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ระบบบริหารระดับตำบลยังคงเผชิญกับอุปสรรคหลายประการ เช่น ปัญหาการกระจุกตัวของอำนาจ การขาดกลไกที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ความไม่เท่าเทียมในการจัดสรรทรัพยากร และการขาดการพัฒนาศักยภาพของผู้นำท้องถิ่น แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ได้แก่ การกระจายอำนาจที่เหมาะสม การพัฒนาทักษะของผู้นำ การจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม และการส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทมากขึ้นในกระบวนการบริหารท้องถิ่น ผลการศึกษาสรุปว่า ผู้นำระดับตำบลมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในระดับรากหญ้า หากสามารถส่งเสริมศักยภาพของผู้นำและเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน ระบบการปกครองท้องถิ่นจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นรากฐานที่มั่นคงของประชาธิปไตยไทยในระยะยาว

References

แก้ว สังข์ชู และคณะ. (2560). คู่มือบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568, จาก https://web.codi.or.th/wp-content/uploads/2020/12/คู่มือบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล.pdf

จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และพระถนัด วฑฺฒโน. (ม.ป.ป.). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/download/116460/94913/327002.

เจตน์ ดิษฐอุดม. (ม.ป.ป.). ความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นและท้องที่. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นและท้องที่

ณรงค์ฤทธิ์ ทายะ, จุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์, และสุพรชัย ศิริโวหาร. (2556). ภาวะผู้นำที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน กลุ่ม 1. พิฆเนศวร์สาร, 9(1), 83–95.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civil Education): การพัฒนาเมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่คน. ม.ป.ท.

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496. (2496, 17 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. 70(14), 222-257.

พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522. (2522, 22 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. 124(52ก), 1-22.

พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457. (2457, 17 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. 31, 229-274.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550. (2550, 14 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. 125(9ก), 1-15.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. (2537, 2 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. 111(53ก), 11-35.

พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551. (2551, 8 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. 125(31ก), 26-38.

ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าด้วยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2564. (2564, 19 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. 138(161ง), 1-13.

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน พ.ศ. 2551. (2551, 28 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. 125(42ง), 6-16.

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน พ.ศ. 2554. (2554, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. 128(33ง), 1-15.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. 134(40ก), 1-90.

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2564). ความเป็นพลเมืองของผู้นำองค์กรภาคประชาสังคม. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา 5(2),1-26.

วรพงศ์ ผูกภู่. (2562). ผู้นำในการพัฒนาชุมชน 4 ประเภท. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568, จาก https://www.randdcreation.com/content/3116/ผู้นำในการพัฒนาชุมชน-4-ประเภท

ศักดิ์สิทธิ์ ฆารเลิศ และอลงกต สารกาล. (2560). ว่าด้วยแนวคิดการบริหารจัดการปกครองท้องถิ่นบนฐานเครือข่ายความร่วมมือ. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 1(2), 82-103.

ศูนย์ช่วยเหลือสังคม. (ม.ป.ป.). ภารกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568, จาก https://1300thailand.m-society.go.th/page/3

สมชาย แสวงการ. (ม.ป.ป.). สร้างความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568, จาก https://www.ect.go.th/th/loei/db_118_loei_cms_30/46116.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). ความเป็นพลเมืองในวิถีระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์ และวลัยพร รัตนเศรษฐ. (2557). รัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2557). แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน: สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

อิสริยานนท์ เ. (2025). บทสำรวจสถานะของผู้นำระดับตำบลกับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 51–82. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1419