การขับเคลื่อนนโยบายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเทศบาลตำบลประตูป่า จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ศรัณย์ลักษณ์ สุปินราษฎร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อุดมโชค อาษาวิมลกิจ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พื้นที่สีเขียว, ความยั่งยืน, นโยบายเทศบาลตำบลประตูป่า

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง "กรอบนโยบายเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเทศบาลตำบลประตูป่า จังหวัดลำพูน"  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบาย และเงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัดในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตตำบลประตูป่า พร้อมทั้งเสนอแนวทางกำหนดนโยบายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่  การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน และตัวแทนกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็ก ประกอบกับการวิเคราะห์เอกสารแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ข้อค้นพบสำคัญสามารถแบ่งเป็น สภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอกตามลำดับดังนี้ บริบท

ทางการบริหารในด้านการปรับปรุงกฎหมายและสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน เกิดจากความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทัศนคติของผู้บริหารที่มุ่งมั่นในการพัฒนาเชิงนโยบายดังกล่าวที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกการเพิ่มพื้นที่สีเขียวต้องอาศัยความตระหนักรู้ของประชาชน ทัศนคติที่มีต่อการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และทุนทางสังคม ทั้งนี้เพื่อการเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชน และภาคีเครือข่าย การส่งเสริมการตระหนักรู้ด้วยการสร้างพื้นที่หรือกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

References

งานวิเคราะห์นโยบายและแผน เทศบาลตำบลประตูป่า. (พฤษภาคม 2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - พ.ศ. 2570) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 1/2566. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2567, จากhttps://www.pratupa.go.th/document/strategic_plan_or_agency_development_plan

งานศิษย์เก่าสัมพันธ์และบริการด้านอาชีพ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (2 กุมภาพันธ์ 2567). ความ ยั่งยืน หมายถึง ? สำคัญอย่างไรต่อชีวิตปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567, จาก https://alumni.mahidol.ac.th/sustainability/

จุติชัย ด้วงลาพันธ์ และสุริยา เรียบร้อย. (2556). ศึกษาการพัฒนาพื้นที่สีเขียวภายใต้แนวคิดชุมชนนิเวศ กรณีศึกษา เทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: คลังความรู้ดิจิตอล.

ปุณยนุช, รุธิรโก. (2556). ความยั่งยืนในการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(84), 55-76.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2555). การจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: พื้นฐานการศึกษา ด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และพรรณทิพย์ เพชรมาก. (2551). การบริหารสังคมศาสตร์แห่งศตวรรษเพื่อสังคมไทย และสังคมโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

วรรณวิภา ไตลังคะ และคณะ. (2565). บทเรียนชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองสีเขียว ในจังหวัด ปทุมธานี. วารสารรัชตภาคย์, 16(45), 473-486.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). แนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียว ในเมือง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). แนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (กรกฎาคม 2567). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(ราย เดือน). สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2567, จาก

https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage

สุกัลยา โตสินธุ์. (2554). การบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวแบบมีส่วนร่วมในบริบทการขยายตัวของเมืองใน โครงการสวนกลางมหานคร (บางกระเจ้า) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อคิน, รพีพัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคม และวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

Dye, T. R. (2002). Understanding Public Policy. (10th. ed) , Englewood Cliffs. NJ: Prentice -Hall, Inc.

Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass Publisher.

United Nations. (1981). Yearbook of International Trade Statistics. New York: Author.

United Nations. (1987). Participation: A Key to Sustainable Development. New York: Author..

United Nations. (2015). Transforming our world: The 2030 Agenda for Sustainable Development. New York: Author..

เผยแพร่แล้ว

20-04-2025

How to Cite

สุปินราษฎร์ ศ., & อาษาวิมลกิจ อ. (2025). การขับเคลื่อนนโยบายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเทศบาลตำบลประตูป่า จังหวัดลำพูน. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 384–414. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1406