การพัฒนาตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) ของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

ผู้แต่ง

  • เสาวณีย์ บุญสูง นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เฉลิมพล ศรีหงษ์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การพัฒนาตนเอง, ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning), สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการพัฒนาตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) 2) แนวทางการพัฒนาตนเองของบุคลากร 3) ระดับการพัฒนาตนเองของบุคลากร 4) ผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อการพัฒนาตนเองของบุคลากร โดยเลือกสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม เป็นกรณีศึกษา ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์  (E-learning) ทั้ง 5 ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณสมบัติส่วนตัวความเชื่อ 2) แนวทางการพัฒนาตนเองของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้แก่ การศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าเรียนหลักสูตรวิชาที่สนใจผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning)3) ระดับการพัฒนาตนเองของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม มีการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมาก 4) การศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนามีผลกระทบต่อการพัฒนาตนเองของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม

References

กมลฉัตร อยู่เจริญพงษ์. (2564). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรเทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กิติศักดิ์ สวัสดิ์ศรี. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของข้าราชการธุรการในการใช้เทคโนโลยี000ดิจิทัล สำนักงานอัยการสูงสุด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัย

ทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,

โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

ชุติกาญจน์ สลาหลวง. (2563). ความต้องการและความคาดหวังในการพัฒนาตนเองของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ธีรวดี ยิ่งมี และมงคลชัย โพล้งศิริ. (2562). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เนตรนภา ศรีมหาโพธิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองในองค์กรดิจิทัลของบุคลากรสำนักงาน เลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญมี พันธุ์ไทย. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พุทธิพงค์ มีทอง. (2565). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากร: กรณีศึกษาสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในเขตกรุงเทพมหานคร. สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรารัตน์ ชูทอง. (2561). ปัจจัยต่อการพัฒนาศักยภาพข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตอำนาจศาลท้องที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วศิณ ศรีวิทยารัตน์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สาธินี หมัดสะและ. (2566). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของพนักงาน 0000000บริษัทเจียไต๋. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.), ม.ป.ป. Digital literacy Project โครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม2566, จาก http://www.ocsc.go.th/dlproject/process-dev

สำนักงานข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.), ม.ป.ป. แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 – 2565. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566, จาก https://www.ocsc.go.th/CIVILSERVICE#GSC.TAB=0&gsc.tab=0

สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.), กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.). ม.ป.ป. แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2566 – 2570.

ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566, จาก https://cio.mhesi.go.th/node/4149

อรรถพล หวังสู่วัฒนา. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในบริษัทเชื้อเพลิงการบิน จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เผยแพร่แล้ว

12-04-2024