ศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อขับเคลื่อนทุนชุมชนสู่การจัดการชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนของตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อขับเคลื่อนทุนชุมชนสู่การจัดการชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนของตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้นำชุมชนแม่เปา จำนวน 14 คน หัวหน้าหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน และกลุ่มสมาชิกในชุมชน ประกอบด้วย กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ โดยกำหนดตัวแทนกลุ่มละ 5 คน รวม 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยมีคำถามปลายปิดและปลายเปิด ร่วมกับเทคนิควิธีการได้มาของข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์ และการจัดเวทีชาวบ้าน การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา โดยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แล้วจัดหมวดหมู่ข้อมูลผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อขับเคลื่อนทุนชุมชนสู่การจัดการชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนของตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของชุมชน ทรัพยากรของชุมชนและการติดต่อประสานงานของชุมชน
Article Details
References
กุลธิดา ลิ้มเจริญ และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2562). กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพตามแนวพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7(ฉบับเพิ่มเติม): S180-S192.
คนทำงาน. (2561). ยกระดับการพัฒนา “ชุมชน”และ “ชุมคน”. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/178532.
นงนุช ใจชื่น และคณะ. (2560). สถานการณ์ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดและการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 11(1): 11-มีนาคม 25.
นันทวรรณ อิสรานุวัฒน์ชัย. (2550). ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ : ศึกษาจากหลักพุทธธรรม. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิชัย เอกพลากร และคณะ. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Denzin, N. K. (1978). Sociological Methods. New York: McGraw-Hill.
Men, L. R. (2015). “Review the internal communication role of the chief executive officer: Communicationchannels, style,and effectiveness.” Public Relations Review. 41: 461-471.
Aekplakorn W., & et al. (2016). Report of the 5th Thai Health Survey by Physical Examination 2014. Nontaburi: Health Systems Research Institute.
Denzin, N. K. (1978). Sociological Methods. New York: McGraw-Hill.
Isaranuvatchai N. (2007). “Desirable Leadership in the Globalization: Study from the Principles of Buddhism”. Master of Buddhist. Graduate School. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Jaichuen N., & et al. (2017). Situation, Gaps and Opportunities of Alcohol Marketing and Advertising Control in Thailand. Journal of Health Systems Research. 11(1): 11-25.
Khonthamngan. (2018). Improve the level of “community” and “community”. Retrieved March 31 2019, https://www.gotoknow.org/posts/178532
Limcharoen K., & Phramaha Hansa Dhammahaso. (2019). A Process of Leadership development for Peace According to Buddhist Integration. Journal of MCU Peace Studies. 7(Supplement Issue) : S180-S192.
Men, L. R. (2015). “Review the internal communication role of the chief executive officer: Communication channels, style, and effectiveness.” Public Relations Review. 41: 461-471.