ภาพสะท้อนวัฒนธรรมประเพณีจากชาดกในคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
มหาวัสตุอวทานเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่เก่าแก่ จัดอยู่ในวินัยปิฎกของนิกายโลโกตตรวาทฝ่ายมหาสังฆิกะ มีเนื้อหากล่าวถึงพุทธประวัติที่เน้นปาฏิหาริย์สอดแทรกด้วยชาดกจำนวน 54 เรื่อง มีทั้งชาดกที่คล้ายกับในอรรถกถาภาษาบาลีและแตกต่างออกไป ช่วงเวลาที่แต่งคัมภีร์เชื่อกันว่าน่าจะเริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 แล้วมีการปรับปรุงหลายครั้งจนถึงพุทธศตวรรษที่ 9 จากการศึกษาพบว่าคัมภีร์มีชาดกหลายเรื่องบรรยายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมได้อย่างเห็นภาพ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอภาพสะท้อนประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีบูชาไฟ พิธีบูชายัญ พิธีตั้งชื่อ พิธีแต่งงาน การเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญ รวมทั้งวัฒนธรรมการกิน การดื่มและการประดับร่างกาย ที่ปรากฏในชาดก ซึ่งจะทำให้เห็นคุณค่างานประพันธ์ประเภทอวทานในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูลสะท้อนภาพวิถีชีวิตสังคมอินเดียยุคโบราณรอบด้าน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปัทมา นาควรรณ. (2556). “การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ทิวยาวทานเรื่องที่ 1-19.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ). (2538). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทยา ศักยาภินันท์. (2549). ศาสนาฮินดู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2541). พุทธประวัติ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 53. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำเนียง เลื่อมใส, ผู้แปล. (2553). มหาวัสตุอวทาน เล่ม 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสันสกฤตศึกษาในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
สำเนียง เลื่อมใส, ผู้แปล. (2557). มหาวัสตุอวทาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสันสกฤตศึกษาในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
สำเนียง เลื่อมใส, ผู้แปล. (2561). มหาวัสตุอวทาน เล่ม 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสันสกฤตศึกษาในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
สุจิตรา รณรื่น. (2538). ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดวงแก้ว.
สุนทร ณ รังษี. (2521). ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
Bagchi, Sitansusekhar. (1970). Mahāvastu Avadāna, Vol.1. Darbhanga: Mithila Institute of Post-Graduate Studies and Research in Sanskrit Learning.
Marciniak, Katarzyna. (2019). The Mahāvastu A New Edition, Vol.lll. Tokyo: The International Research Institute for Aadvanced Buddhology, Soka University.
Pandey, Rajbali. (1978). Hindu Saṃskāra. Delhi: Motilal Banarsidass.
Winternitz, Maurice. (1993). A History of Indian Literature, Vol.II. Delhi: Motilal Banarsidass.