https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/issue/feed ภาษา-จารึก 2024-12-30T20:40:36+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังวล คัชชิมา : Asst. Prof. Kangvol Khatshima, Ph.D phasacharuek.journal@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารภาษา-จารึก</strong> มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์วรรณกรรม และบทความแปล ด้านภาษาปัจจุบันและภาษาโบราณ ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม คติชน อักขรวิทยา จารึกและเอกสารโบราณ การจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p class="cvGsUA direction-ltr align-center para-style-body"><span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">ISSN 3056-9737 (Print)</span></p> <p class="cvGsUA direction-ltr align-center para-style-body"><span class="OYPEnA text-decoration-none text-strikethrough-none">ISSN 3056-9818 (Online)</span></p> https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/1323 คณะกรรมการประเมินคุณภาพบทความ 2024-12-30T14:26:15+07:00 กังวล คัชชิมา phasacharuek.journal@gmail.com 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/1322 บทบรรณาธิการ 2024-12-30T14:21:44+07:00 กังวล คัชชิมา phasacharuek.journal@gmail.com 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/643 จารึกการปฏิสังขรณ์ปราสาทนครหลวง และวัดใหม่ประชุมพล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2024-08-22T13:14:37+07:00 ศานติ ภักดีคำ pakdeekhamsanti@gmail.com <p>บทความนี้นำเสนอคำปริวรรตและคำอ่านของจารึกซึ่งเป็นหลักฐานเกี่ยวกับการปฏิสังขรณ์ปราสาทนครหลวง และวัดใหม่ประชุมพลในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยอาศัยหลักฐานจารึกสำคัญ ได้แก่ จารึกการบูรณะพระมณฑปพระพุทธบาทสี่รอย จารึกฐานพระพุทธรูปปราสาทนครหลวง และจารึกโคลงปฏิสังขรณ์วิหารหลวงพ่อทรงธรรม วัดใหม่ประชุมพล</p> <p>จารึกที่พบ ณ ปราสาทนครหลวง แสดงให้เห็นการบูรณปฏิสังขรณ์พระมณฑปพระพุทธบาทสี่รอยจำลอง และพระพุทธรูปทั้งภายในพระมณฑปและพระระเบียง<br />เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของพระสงฆ์โดยเฉพาะพระครูวิหารกิจจานุการ (พระปลัดปลื้ม) และได้รับความร่วมมือจากพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางข้าราชการ และประชาชนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งแล้วเสร็จในช่วง พ.ศ. 2446-2449</p> <p>ส่วนจารึกโคลงปฏิสังขรณ์วิหารหลวงพ่อทรงธรรม วัดใหม่ประชุมพล เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการบูรณะพระวิหารในปี พ.ศ. 2436 ทั้งยังกล่าวถึงอานิสงส์ของการทำบุญและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาด้วย</p> <p>จารึกดังกล่าวเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการบูรณะโบราณสถานสมัยอยุธยาในสมัยรัชกาลที่ 5 และสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในสังคมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/650 ภาพสะท้อนวัฒนธรรมประเพณีจากชาดกในคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน 2024-11-20T11:27:50+07:00 สำเนียง เลื่อมใส leurmsai_s@su.ac.th <p>มหาวัสตุอวทานเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตที่เก่าแก่ จัดอยู่ในวินัยปิฎกของนิกายโลโกตตรวาทฝ่ายมหาสังฆิกะ มีเนื้อหากล่าวถึงพุทธประวัติที่เน้นปาฏิหาริย์สอดแทรกด้วยชาดกจำนวน 54 เรื่อง มีทั้งชาดกที่คล้ายกับในอรรถกถาภาษาบาลีและแตกต่างออกไป ช่วงเวลาที่แต่งคัมภีร์เชื่อกันว่าน่าจะเริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 แล้วมีการปรับปรุงหลายครั้งจนถึงพุทธศตวรรษที่ 9 จากการศึกษาพบว่าคัมภีร์มีชาดกหลายเรื่องบรรยายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมได้อย่างเห็นภาพ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอภาพสะท้อนประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีบูชาไฟ พิธีบูชายัญ พิธีตั้งชื่อ พิธีแต่งงาน การเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญ รวมทั้งวัฒนธรรมการกิน การดื่มและการประดับร่างกาย ที่ปรากฏในชาดก ซึ่งจะทำให้เห็นคุณค่างานประพันธ์ประเภทอวทานในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูลสะท้อนภาพวิถีชีวิตสังคมอินเดียยุคโบราณรอบด้าน</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/1179 สถานภาพการศึกษาชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย: มุมมองด้านภาษาจีนในไทยและวรรณกรรมไทย-จีน 2024-11-21T16:24:34+07:00 เหยา ซือฉี krisevaysq@hotmail.com <p>ภาษาจีนในประเทศไทยและวรรณกรรมไทย-จีนเป็นขอบเขตการวิจัยอันสำคัญในการศึกษาชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานภาพการศึกษาชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยจากมุมมองด้านภาษาจีนในไทยและวรรณกรรมไทย-จีน ผ่านการสังเคราะห์กลุ่มตัวอย่างผลงานวิชาการที่มีการเผยแพร่ตั้งแต่ ค.ศ. 1988-2024 จำนวน 66 รายการ ประกอบด้วยบทความวิชาการ และบทความวิจัยในวารสาร วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีนิพนธ์ โดยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายและการทำตารางเชิงสถิติ เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมและสาระสำคัญของการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตผลงานวิชาการมีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการขยายขอบเขตเนื้อหาสาระของการศึกษา หรือปริมาณผลงานวิชาการที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยมีการศึกษาเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลจากการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย การประยุกต์ใช้ภาษาจีนกลางมาตรฐานในประเทศไทย และการใช้งานภาษาถิ่นจีนในประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบว่า ภาพรวมของวัตถุประสงค์การศึกษาวรรณกรรมไทย-จีนมีลักษณะร่วม 5 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อย้อนรอยภาพรวมประวัติศาสตร์และแนวทางการศึกษาในอนาคต (2) เพื่อทราบถึงอัตลักษณ์ทางชนชาติและประเทศ (3) เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการดำรงชีวิตทางสังคมของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย (4) เพื่อเข้าใจถึงกระแสนิยมทางความคิด และ (5) เพื่อวิจัยเกี่ยวกับการเล่าเรื่องในวรรณกรรมไทย-จีน ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าว ผู้ที่สนใปจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสืบค้น อ้างอิง และสานต่อการตั้งโจทย์การศึกษาวิจัยชาวจีนโพ้นทะเลให้มีความเหมาะสมต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพในประเด็นที่จะศึกษาในอนาคต</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/1187 คำหลักในภาษาไทยและลักษณะบันเทิงคดีที่ปรากฏในบันทึกรายวันของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) 2024-12-20T13:13:59+07:00 สาวิตรี คุณหงษ์ sawitree113366@gmail.com จันทิมา สว่างลาภ janthima.ann@gmail.com บุญเลิศ วิวรรณ์ boonlert.w@ku.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำหลักและลักษณะบันเทิงคดีที่ปรากฏในบันทึกรายวันของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) ขอบเขตงานที่ศึกษา คือ “บันทึกรายวันของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน)” โดยบันทึกเป็นภาษาไทย จำนวน 68 หน้า ต้นฉบับเก็บที่หอสมุดสำนักมิสซังต่างประเทศ กรุงปารีส การศึกษานี้ใช้วิจัยเอกสาร และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า มีการใช้คำหลัก ที่อธิบายถึงวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหาร สถานที่ ตลอดจนกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ในส่วนของการศึกษาองค์ประกอบของบันเทิงคดีที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องบันทึกรายวันของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) ประกอบด้วยการสร้างโครงเรื่อง การเล่าเรื่อง การสร้างตัวละคร การสร้างฉาก และการนำเสนอแก่นเรื่อง สะท้อนให้เห็นอัจฉริยภาพด้านไวยากรณ์ไทยและภาพสะท้อนสังคม ซึ่งควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/913 โพธิวังสะ: การสำรวจเอกสารต้นฉบับตัวเขียนในหอสมุดแห่งชาติ 2024-12-11T14:18:56+07:00 พสิษฐ์ วรรณทอง suthatwanthong@gmail.com <p>บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและตรวจสอบต้นฉบับตัวเขียนเรื่องโพธิวังสะที่จัดเก็บรักษาและให้บริการ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร โดยการสำรวจต้นฉบับตัวเขียนเรื่องนี้พบว่า ในสำนักหอสมุดแห่งชาติ มีต้นฉบับตัวเขียนทั้งหมด 9 ฉบับและมีการจัดเก็บรักษาไว้ 2 แห่ง คือ หอพระมณเฑียรธรรม ในพระบรมมหาราชวัง และกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก</p> <p>จากการตรวจสอบต้นฉบับตัวเขียนในเบื้องต้นพบว่า ต้นฉบับตัวเขียนทั้งหมดสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเด็น มีดังนี้ 1) ต้นฉบับตัวเขียนที่เป็นฉบับหลวงและฉบับราษฎร์ 2) ต้นฉบับตัวเขียนจารชื่อเรื่องแตกต่างจากต้นฉบับตัวเขียนของลังกา3) ต้นฉบับตัวเขียนพบสูงสุดเพียง 3 ผูก และ 4) ต้นฉบับตัวเขียนมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์ เมื่อเปรียบเทียบกับฉบับตรวจชำระของสมาคมบาลีปกรณ์</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/1101 บทวิเคราะห์และวิจารณ์รูปอักษรและอักขรวิธีของจารึกบ้านกุ่ม อบ. 40 2024-11-20T14:43:49+07:00 ชญานุตม์ จินดารักษ์ chayanut.jin@gmail.com <p><strong>จารึกบ้านกุ่ม อบ.</strong><strong> 40 เป็นจารึกขอมโบราณที่ผนังหินใต้เพิงผาหรือผนังถ้ำหลักแรกของจังหวัดอุบลราชธานี</strong> อยู่ในพื้นที่ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม พื้นที่เดียวกับอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ที่มีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ผนังหินใต้เพิงผาที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เพิงผาที่มีจารึกและมีภาพเขียนสีเหล่านี้ตั้งอยู่บนภูเขาหินทรายที่ทอดยาวต่อมาจากเทือกเขาภูพานเลียบริมฝั่งแม่น้ำโขง ทั้งนี้บนเทือกเขาภูพานได้เคยพบจารึกบนผนังถ้ำมาแล้ว ได้แก่ จารึกวัดถ้ำพระ สน. 5 อักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร พุทธศักราช 1609 <strong>จารึกบ้านกุ่มมีตัวเลขบอกศักราช คือ 811 หรือพุทธศักราช 1432 หรือพุทธศตวรรษที่ 15</strong> แต่จากการศึกษาเปรียบเทียบอักษรและอักขรวิธีของจารึกบ้านกุ่มกับจารึกอักษรหลังปัลลวะและจารึกอักษรขอมโบราณที่กำหนดศักราชแล้ว พบว่า<strong>จารึกบ้านกุ่มมีรูปอักษรและอักขรวิธีสอดคล้องกับจารึกอักษรขอมโบราณ พุทธศตวรรษที่ </strong><strong>16 –17 </strong>เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ จารึกสด๊กก๊อกธม 2 ปจ. 4 อักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร พุทธศักราช 1595 เฉพาะด้านที่ 2, 3 และ 4 กับจารึกปราสาทหินพนมวัน 3 นม. 1 อักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร พุทธศักราช 1625 จากคำอ่านแปลและรูปอักษรและอักขรวิธีในจารึกบ้านกุ่มสามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นจารึกที่บันทึกเรื่องราวย้อนหลัง หรืออักษรที่ใช้ในจารึกบ้านกุ่ม เมื่อพุทธศักราช 1432 มีรูปแบบอักษรคาบเกี่ยวกันระหว่างอักษรหลังปัลลวะและอักษรขอมโบราณ และเคยมีศาสนสถานในบริเวณที่พบจารึกนี้ ทั้งเป็นความนิยมทำจารึกบนผนังหินใต้เพิงผาบนแนวเทือกเขาภูพานเหมือนการทำภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม เพราะพบจารึกบนผนังหินใต้เพิงผาบนแนวเทือกเขาภูพานในท้องที่จังหวัดสกลนคร คือจารึกวัดถ้ำพระ สน. 5 อักษรขอมโบราณ พุทธศตวรรษที่ 17 ด้วย</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/1140 นางจันทลีลาพราหมณี: การวิเคราะห์กลวิธีการแปลจากภาษาอังกฤษสู่ภาษาล้านนา 2024-12-18T14:15:28+07:00 คณปกรณ์ จันทร์สมบูรณ์ kanapakorn5187@gmail.com <p>บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาวรรณกรรมเรื่อง “นางจันทลีลาพราหมณี เดินเทษสัฏฐีกตปุญญา กะทำบุญ” ซึ่งบันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์อเมริกันวังสิงห์คำ ใน พ.ศ. 2459 โดยใช้ทฤษฎีการแปลวรรณกรรม ด้วยการศึกษาลักษณะต้นฉบับและเปรียบเทียบเนื้อความกับต้นฉบับภาษาอังกฤษเพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแปลต้นฉบับจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาล้านนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าวรรณกรรมเรื่องนี้มีวิธีการแปลโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างมิชชันนารีกับปราชญ์ท้องถิ่น ทั้งนี้ผู้แปลมีการใช้กลวิธีการแปลได้แก่ 1) ลักษณะการแปล พบว่า มีลักษณะการแปลแบบการแปลเสรี โดยมีการดัดแปลงขนบลีลาการประพันธ์ การขยายความ การย่อความ การตัดความ การเติมความ และการดัดแปลงความ 2) การใช้สำนวนภาษาในการแปล พบว่าผู้แปลมีการใช้สำนวนภาษาแบบวรรณกรรมล้านนา คือ การใช้สำนวนภาษาแบบวรรณกรรมพุทธศาสนาล้านนา และการใช้คำซ้อน</p> <p>ลักษณะการแปลที่ปรากฏส่งผลดีคือ กลวิธีด้านลักษณะการแปลช่วยทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้น และแฝงไว้ด้วยการปลูกฝังแนวคิดความเชื่อและทัศนะทางคริสต์ศาสนา ส่วนการใช้สำนวนภาษาแบบวรรณกรรมล้านนาช่วยสร้างความใกล้ชิดทางภาษาและวัฒนธรรม<br />แก่ผู้อ่าน ทำให้เรื่องราวทางคริสต์ศาสนาเป็นเรื่องที่คนล้านนาเข้าถึงได้ งานแปลชิ้นนี้จึงเป็นเครื่องมือในการเผยแผ่แนวคิดทางคริสต์ศาสนาโดยใช้ภูมิทางภาษาและวรรณกรรมล้านนาอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/PCJ/article/view/1157 ความเป็นปักษ์ใต้ที่ปรากฏในหนังสือที่ระลึกงานวันสารทเดือนสิบ ในปี 2508-2542 2024-11-20T16:23:10+07:00 อิทธิกร ทองแกมแก้ว golfboran19@gmail.com <p>งานศึกษานี้มุ่งศึกษากิจกรรมและหนังสือที่ระลึกวันสารทเดือนสิบ ณ วัดพิชัยญาติการาม กรุงเทพมหานคร ของกลุ่มสหภูมิภาคทักษิณ ตั้งแต่ปี 2508–2542 โดยค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ในส่วนแรก ภายใต้ทศวรรษ 2500 ผู้คนจากทางภาคใต้หลั่งไหลเข้ามาสู่กรุงเทพฯ ได้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่ายและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนใต้ ผ่านการจัดงานประเพณีวันสารทเดือนสิบในกรุงเทพฯ เมื่อมีการจัดงานและตีพิมพ์หนังสือที่ระลึกงานวันสารทเดือนสิบขึ้น มีงานเขียนที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามถึงการกระตุ้นสร้างสำนึกความเป็นคนใต้ที่สัมพันธ์อยู่กับวัฒนธรรมความเป็นชาติ ภายใต้บริบทในยุคสงครามเย็น และในส่วนที่สอง งานชิ้นนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงการพยายามนำเสนอวัฒนธรรมความเป็นคนใต้ออกสู่สายตาให้คนกรุงเทพฯ ได้รับรู้ผ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการมีสถาบันหลักของชาติอย่างสถาบันพระมหากษัตริย์ร่วมกัน</p> 2024-12-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร