จารึกฎูนตรี (K.198) ของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2: การปริวรรต แปล และสารัตถะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จารึกฎูนตรีพบที่จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา จารด้วยอักษรขอมโบราณ เขียนเป็นภาษาสันสกฤตและเขมรโบราณ ปรากฏมหาศักราช 888 ตรงกับพุทธศักราช 1509 อยู่ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 จารึกฎูนตรียังไม่มีการอ่านและแปลเป็นภาษาไทยมาก่อน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแปลเป็นภาษาไทย จากการแปลพบว่า จารึกฎูนตรีมีสารัตถะด้านประวัติศาสตร์และสังคม และด้านศาสนาและความเชื่อ กล่าวคือ ด้านประวัติศาสตร์และสังคมประกอบไปด้วย (1) ปีขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (2) พระบรมราชโองการของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 และ (3) บรรดาศักดิ์และรายชื่อขุนนาง ส่วนด้านศาสนาและความเชื่อประกอบไปด้วย (1) ความหลากหลายทางศาสนา และ (2) คติความเชื่อเรื่องพระอารยไมตรี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2564). จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 อักษรขอมโบราณ พุทธศตวรรษที่ 14-16. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
ชะเอม แก้วคล้าย. (2543). จารึกปราสาทแปรรูป. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
จิโต, มาดแลน. (2566). ประวัติเมืองพระนครของขอม. (แปลโดย ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มติชน.
จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา และเคอิโกะ ซาโตะ. (2564). “จารึกเมืองเสมา (K.1141).” ใน สมบัติ มั่งมีสุขศิริ (บรรณาธิการ), ใน จารึกสันสกฤตที่สำคัญในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่ม 1 (น. 420-443). นนทบุรี: นิติธรรม.
จิรัสสา คชาชีวะ. (2559). วัชรยานตันตระ ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทรงธรรม ปานสกุณ. (2548). “ร่องรอยพระพุทธศาสนาในอาณาจักรเขมรโบราณก่อนพุทธศตวรรษที่ 17.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นันทนา ชุติวงศ์. (2563). “พระศรีอาริยเมตไตรย อนาคตพุทธ.” ใน เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ วิชชาแห่งบูรพา พระศรีอารยเมตไตรย พระโพธิสัตว์ไมเตรยะ (น. 6-57), กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 9 มีนาคม 2563.
พระมหากวีศักดิ์ วาปีกุลเศรษฐ์. (2564). “จารึกบ้านพันดุง : มุมมองจากการอ่านและแปลใหม่.” อักษราพิบูล 2, (2): 5-28.
พระมหาปราโมทย์ แก้วนา. (2558). “การศึกษาวิเคราะห์จารึกแม่บุญตะวันออก.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2547). ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2560). ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ. 2000. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
Aymonier, É. (1901). Le Cambodge, Volume II. Paris: Ernest Leroux.
Cœdès, G. (1908). “Les inscriptions de Bàt Čum (Cambodge).” Journal Asiatique 10, (12): 213-252.
Cœdès, G. (1951). Inscriptions du Cambodge Volume III. Paris: E. De Boccard.
Cœdès, G. (1953). Inscriptions du Cambodge Volume V. Paris: E. De Boccard.
Cœdès, G. (1954). Inscriptions du Cambodge Volume VI. Paris: École française d'Extrême-Orient.
Cœdès, G. (1964). Inscriptions du Cambodge Volume VII. Paris: École française d'Extrême-Orient.
Estève, J. (2014). “L'inscription K. 237 de Prāsāt Preaḥ Khsaet. Une caturmūrti insolite?.” Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 100: 167-200.
Lajonquaire, L. de. (1902). Inventaire descriptif des monuments du Cambodge. Paris: Imprimerie Nationale.
Majumdar, R. C. (1953). Inscription of Kambuja. Calcutta: The Asiatic Society.