บทวิเคราะห์และวิจารณ์รูปอักษรและอักขรวิธีของจารึกบ้านกุ่ม อบ. 40
Main Article Content
บทคัดย่อ
จารึกบ้านกุ่ม อบ. 40 เป็นจารึกขอมโบราณที่ผนังหินใต้เพิงผาหรือผนังถ้ำหลักแรกของจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ในพื้นที่ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม พื้นที่เดียวกับอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ที่มีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ผนังหินใต้เพิงผาที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เพิงผาที่มีจารึกและมีภาพเขียนสีเหล่านี้ตั้งอยู่บนภูเขาหินทรายที่ทอดยาวต่อมาจากเทือกเขาภูพานเลียบริมฝั่งแม่น้ำโขง ทั้งนี้บนเทือกเขาภูพานได้เคยพบจารึกบนผนังถ้ำมาแล้ว ได้แก่ จารึกวัดถ้ำพระ สน. 5 อักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร พุทธศักราช 1609 จารึกบ้านกุ่มมีตัวเลขบอกศักราช คือ 811 หรือพุทธศักราช 1432 หรือพุทธศตวรรษที่ 15 แต่จากการศึกษาเปรียบเทียบอักษรและอักขรวิธีของจารึกบ้านกุ่มกับจารึกอักษรหลังปัลลวะและจารึกอักษรขอมโบราณที่กำหนดศักราชแล้ว พบว่าจารึกบ้านกุ่มมีรูปอักษรและอักขรวิธีสอดคล้องกับจารึกอักษรขอมโบราณ พุทธศตวรรษที่ 16 –17 เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ จารึกสด๊กก๊อกธม 2 ปจ. 4 อักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร พุทธศักราช 1595 เฉพาะด้านที่ 2, 3 และ 4 กับจารึกปราสาทหินพนมวัน 3 นม. 1 อักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร พุทธศักราช 1625 จากคำอ่านแปลและรูปอักษรและอักขรวิธีในจารึกบ้านกุ่มสามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นจารึกที่บันทึกเรื่องราวย้อนหลัง หรืออักษรที่ใช้ในจารึกบ้านกุ่ม เมื่อพุทธศักราช 1432 มีรูปแบบอักษรคาบเกี่ยวกันระหว่างอักษรหลังปัลลวะและอักษรขอมโบราณ และเคยมีศาสนสถานในบริเวณที่พบจารึกนี้ ทั้งเป็นความนิยมทำจารึกบนผนังหินใต้เพิงผาบนแนวเทือกเขาภูพานเหมือนการทำภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม เพราะพบจารึกบนผนังหินใต้เพิงผาบนแนวเทือกเขาภูพานในท้องที่จังหวัดสกลนคร คือจารึกวัดถ้ำพระ สน. 5 อักษรขอมโบราณ พุทธศตวรรษที่ 17 ด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จารึกในประเทศไทย เล่ม 1 อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 11-14. (2559). กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 อักษรขอมโบราณ พุทธศตวรรษที่ 14-16. (2564). กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18. (2529). กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.
ชะเอม แก้วคล้าย. (2565). จารึกวิจักษ์ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันธรรมชัยวิจัยนานาชาติ (DIRI).
ชะเอม แก้วคล้าย. (2565). จารึกวิจักษ์ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันธรรมชัยวิจัยนานาชาติ (DIRI).
สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (EFEO). (ม.ป.ป.). Corpus des inscriptions khmères. เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.efeo.fr/espace_prive/paleoCIK.html
Jenner, Philip N. (2009). A Dictionary of Angkorian Khmer. Pacific Linguistics, Research School of Pacific and Asian Studies, The Australian National University.
Jenner, Philip N. (2009). A Dictionary of Pre-Angkorian Khmer. Pacific Linguistics, Research School of Pacific and Asian Studies, The Australian National University.
Inscription 348 N (site: Prasat TA ROS, area: Kompong Thom, Saka year: 876). (ม.ป.ป.) เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2567. เข้าถึงได้จาก https://khmerkhom.wordpress.com/khmer-inscription/pre-angkor-to-876/