จารึกการปฏิสังขรณ์ปราสาทนครหลวง และวัดใหม่ประชุมพล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอคำปริวรรตและคำอ่านของจารึกซึ่งเป็นหลักฐานเกี่ยวกับการปฏิสังขรณ์ปราสาทนครหลวง และวัดใหม่ประชุมพลในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยอาศัยหลักฐานจารึกสำคัญ ได้แก่ จารึกการบูรณะพระมณฑปพระพุทธบาทสี่รอย จารึกฐานพระพุทธรูปปราสาทนครหลวง และจารึกโคลงปฏิสังขรณ์วิหารหลวงพ่อทรงธรรม วัดใหม่ประชุมพล
จารึกที่พบ ณ ปราสาทนครหลวง แสดงให้เห็นการบูรณปฏิสังขรณ์พระมณฑปพระพุทธบาทสี่รอยจำลอง และพระพุทธรูปทั้งภายในพระมณฑปและพระระเบียง
เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของพระสงฆ์โดยเฉพาะพระครูวิหารกิจจานุการ (พระปลัดปลื้ม) และได้รับความร่วมมือจากพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางข้าราชการ และประชาชนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งแล้วเสร็จในช่วง พ.ศ. 2446-2449
ส่วนจารึกโคลงปฏิสังขรณ์วิหารหลวงพ่อทรงธรรม วัดใหม่ประชุมพล เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการบูรณะพระวิหารในปี พ.ศ. 2436 ทั้งยังกล่าวถึงอานิสงส์ของการทำบุญและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาด้วย
จารึกดังกล่าวเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการบูรณะโบราณสถานสมัยอยุธยาในสมัยรัชกาลที่ 5 และสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในสังคมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2550). วัดใหม่ประชุมพล อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ศานติ ภักดีคำ, ผู้ตรวจสอบชำระและบรรณาธิการ. (2558). พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากฉบับตัวเขียน. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ศานติ ภักดีคำ. (2563). นครวัดทัศนสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2551). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.