คำหลักในภาษาไทยและลักษณะบันเทิงคดีที่ปรากฏในบันทึกรายวันของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำหลักและลักษณะบันเทิงคดีที่ปรากฏในบันทึกรายวันของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) ขอบเขตงานที่ศึกษา คือ “บันทึกรายวันของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน)” โดยบันทึกเป็นภาษาไทย จำนวน 68 หน้า ต้นฉบับเก็บที่หอสมุดสำนักมิสซังต่างประเทศ กรุงปารีส การศึกษานี้ใช้วิจัยเอกสาร และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า มีการใช้คำหลัก ที่อธิบายถึงวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหาร สถานที่ ตลอดจนกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ในส่วนของการศึกษาองค์ประกอบของบันเทิงคดีที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องบันทึกรายวันของออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) ประกอบด้วยการสร้างโครงเรื่อง การเล่าเรื่อง การสร้างตัวละคร การสร้างฉาก และการนำเสนอแก่นเรื่อง สะท้อนให้เห็นอัจฉริยภาพด้านไวยากรณ์ไทยและภาพสะท้อนสังคม ซึ่งควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จตุพร ศิริสัมพันธ์. (2529). “สรรพนามในบันทึกและจดหมายของโกษาปาน: การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์เชิงสังคม.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นววรรณ พันธุเมธา. (2565). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาสน์การพิมพ์.
ปรีดี พิศภูมิวิถี. (2555). ประชุมจดหมายเหตุออกพระวิสุทสุนทร (โกษาปาน). กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ.
วทัญญา เล่ห์กัน. (2559). “บันทึกรายวันและจดหมายของโกษาปาน: เนื้อหาและกลวิธีทางภาษา.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิเชฐชาย กมลสัจจะ. (2565). “การศึกษาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในฐานะบันเทิงคดี.” วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 10, 1 (มกราคม-มิถุนายน): 33-49.
ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร. (2558). บันทึกรายวันของออกพระวิสุทธสุนธร. เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน. เข้าถึงได้จาก http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/Search_result.php
สมทรง บุรุษพัฒน์. (2537). วจนวิเคราะห์: การวิเคราะห์ภาษา. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิริรัตน์ รักชาติ และคณะ. (2566).“อักขรวิธีไทยและโลกทัศน์ที่ปรากฏในบันทึกรายวันของ
ออกพระวิสุทสุนทร (โกษาปาน).” 690-716. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้ง 5 วันที่ 10 กันยายน 2566 ณ วัดคงคาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. “จริยธรรมในคัมภีร์โบราณจากยุคพุทธกาลสู่โลกดิจิตอล.” ราชบุรี: วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Longacre, R.E. (1983). The grammmar of discourse. New York: Plenum Press.