นางจันทลีลาพราหมณี: การวิเคราะห์กลวิธีการแปลจากภาษาอังกฤษสู่ภาษาล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาวรรณกรรมเรื่อง “นางจันทลีลาพราหมณี เดินเทษสัฏฐีกตปุญญา กะทำบุญ” ซึ่งบันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์อเมริกันวังสิงห์คำ ใน พ.ศ. 2459 โดยใช้ทฤษฎีการแปลวรรณกรรม ด้วยการศึกษาลักษณะต้นฉบับและเปรียบเทียบเนื้อความกับต้นฉบับภาษาอังกฤษเพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแปลต้นฉบับจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาล้านนา
ผลการศึกษาพบว่าวรรณกรรมเรื่องนี้มีวิธีการแปลโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างมิชชันนารีกับปราชญ์ท้องถิ่น ทั้งนี้ผู้แปลมีการใช้กลวิธีการแปลได้แก่ 1) ลักษณะการแปล พบว่า มีลักษณะการแปลแบบการแปลเสรี โดยมีการดัดแปลงขนบลีลาการประพันธ์ การขยายความ การย่อความ การตัดความ การเติมความ และการดัดแปลงความ 2) การใช้สำนวนภาษาในการแปล พบว่าผู้แปลมีการใช้สำนวนภาษาแบบวรรณกรรมล้านนา คือ การใช้สำนวนภาษาแบบวรรณกรรมพุทธศาสนาล้านนา และการใช้คำซ้อน
ลักษณะการแปลที่ปรากฏส่งผลดีคือ กลวิธีด้านลักษณะการแปลช่วยทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้น และแฝงไว้ด้วยการปลูกฝังแนวคิดความเชื่อและทัศนะทางคริสต์ศาสนา ส่วนการใช้สำนวนภาษาแบบวรรณกรรมล้านนาช่วยสร้างความใกล้ชิดทางภาษาและวัฒนธรรม
แก่ผู้อ่าน ทำให้เรื่องราวทางคริสต์ศาสนาเป็นเรื่องที่คนล้านนาเข้าถึงได้ งานแปลชิ้นนี้จึงเป็นเครื่องมือในการเผยแผ่แนวคิดทางคริสต์ศาสนาโดยใช้ภูมิทางภาษาและวรรณกรรมล้านนาอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกพร นุ่มทอง. (2553). การศึกษาการแปลวรรณกรรมจีนเรื่องไซ่ฮั่นในสมัยรัชกาลที่ 1. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2561). วรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี. (2562). “การศึกษาวิเคราะห์คำซ้อนในค่าวซอเรื่องพระอภัยมณีและศรีสุวัณณ์.” รายงานการวิจัย, กองทุนนหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
บุญจิรา ไชยชิตร. (2544). “การแปลและการเรียบเรียง.” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 6 (การเขียนสำหรับครู) หน่วยที่ 9-15. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. (2528). คริสต์ศาสนาในล้านนา: การศึกษาประวัติคริสต์ศาสนาในภาคเหนือ. เชียงใหม่: โครงการตำราศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ.
ภคภต เทียมทัน. (2565). “คำซ้อนในภาษาไทใหญ่: กรณีศึกษาพื้นเมืองแสนหวี ฉบับหอคำเมืองไหญ.” มนุษยศาสตร์วิชาการ, 29 (1), 167-188.
วรรณภา ปะวิโน. (2564). “โรงพิมพ์ยุคแรกของล้านนา.” วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ, 9 (1), 54-72.
วัลยา วิวัฒน์ศร, (2557). การแปลวรรณกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนังสือเรื่องนางจันทลีลาพราหมณี เดินเทษสัฏฐีกตปุญญา กะทำบุญ. (2550). เชียงใหม่:โครงการจัดทำเอกสารข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ต้นฉบับและเป็นฐานในการสร้างนักวิชาการด้านล้านนารุ่นใหม่.
อลิสา วานิชดี. (2551). “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานแปล.” ใน เอกสารการสอน ชุด วิชาการอ่านภาษาไทย หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Ada Lee. (1903). An Indian Priestess; The life of Chundra Lela. New York, Chicago, etc.: Fleming H. Revell Company.