จริยธรรม
จากการที่วารสารเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารผลงานวิจัย ตลอดจน ข้อค้นพบใหม่ๆ ระหว่าง
นักวิจัย และสังคมภายนอก ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส และ
สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน เช่น Committee on
Pubication Ethics (COPE) ตลอดจนสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียง เช่น Elsevier จึงได้กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติ
ที่ดี และจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยไว้สำหรับการดำเนินงานของวารสาร ทั้งนี้ วารสารแต่ละ
ชื่อเรื่อง ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งต้องมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ Publication Ethics
ปรากฎอย่างชัดเจนในเว็บไซต์ของวารสาร เพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบทั่วกัน
นอกจากนี้ COPE และสำนักพิมพ์หลายแห่ง ยังได้กำหนดบทบาทหน้าที่สำหรับบุคคล 3 กลุ่ม ที่อยู่ใน
วงจรการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ได้แก่ ผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการวารสาร (Editor) และผู้ประเมิน
บทความ (Reviewer) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 กลุ่ม ได้ศึกษาและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อ
ประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตลอดจน ผู้อ่าน แวดวงวิชาการ และสังคมโลกโดยรวม
ตัวอย่างบทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
3. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตัวเอง รวมทั้งจัดทำ
รายการอ้างอิง ท้ายบทความ
4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน "คำแนะนำผู้เขียน"
5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
6. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้
7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)