การปกครองท้องถิ่นอีสานในรัฐสยาม (2322-2435) : นัยยะต่อสิทธิในการปกครองตนเองของท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้อธิบายระบบการปกครองท้องถิ่นอีสานก่อนการปฏิรูป (2322-2435) มีลักษณะอย่างไร และระบบการปกครองดังกล่าวสามารถนำมาอธิบายในแง่มุมทางทฤษฎีหรือแนวคิดทางการเมืองในสังคมการเมืองไทยร่วมสมัยได้หรือไม่อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า ระบบการปกครองอีสานก่อนการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 มีสองระบบใหญ่ด้วยกัน คือ ระบบอาญาสี่อันมีต้นแบบจากการปกครองของลาวล้านช้าง และระบบที่สองคือระบบการปกครองที่สอดคล้องกับการปกครองแบบสยาม ทั้งนี้แนวคิดที่สามารถนำมาอธิบายในแง่มุมทางทฤษฎีการเมืองหรือนำมาอธิบายสังคมการเมืองไทยร่วมสมัย ได้แก่ แนวคิดว่าด้วยการปกครองตนเองของท้องถิ่น แนวคิดว่าด้วยอำนาจอิสระในการปกครองท้องถิ่น แนวคิดว่าด้วยการตัดสินใจด้วยตนเอง แนวคิดว่าด้วยการกระจายอำนาจ แนวคิดว่าด้วย รัฐ ชาติ และอำนาจอธิปไตย และการก่อให้เกิดประชาธิปไตยที่หลากหลายรูปแบบในระดับท้องถิ่น