การครองอำนาจนำระหว่างรัฐและท้องถิ่นไทย: บทวิเคราะห์ผ่านมุมมองประชาธิปไตย 2 ระดับ ระหว่างพ.ศ. 2535-2564

Main Article Content

สุนทรชัย ชอบยศ
จตุรงค์ ศรีสุธรรม
เชิงชาญ จงสมชัย

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ประชาธิปไตยไทยสามารถวิเคราะห์ได้อย่างน้อย 2 ระดับคือประชาธิปไตยระดับชาติและประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น นับตั้งแต่พ.ศ. 2535-2564 มีเพียงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 35 ที่ส่งผลสะเทือนต่อการเสริมสร้างประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนผ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การเติบโตของการเมืองภาคพลเมืองและการกระจายอำนาจกลายเป็นอำนาจนำของประชาชนในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ต่อมาเกิดการรัฐประหารทั้งในปีพ.ศ. 2549 และ 2557 อันส่งผลต่อการลดอำนาจรวมทั้งปิดกั้นอำนาจของประชาชนในการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น และสถาปนาอำนาจนำในการจัดการของรัฐเหนือท้องถิ่น ผ่านกลไกของระบบราชการแบบรวมศูนย์อย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้กลไกของส่วนภูมิภาคและส่วนท้องที่ (กำนันผู้ใหญ่บ้าน) ในการพัฒนา จนละเลยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันเป็นกลไกของประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น ดูเหมือนว่าการเมืองในระดับชาติมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดความเป็นไปในการเมืองและการบริหารในระดับท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
ชอบยศ ส., ศรีสุธรรม จ. ., & จงสมชัย เ. . (2024). การครองอำนาจนำระหว่างรัฐและท้องถิ่นไทย: บทวิเคราะห์ผ่านมุมมองประชาธิปไตย 2 ระดับ ระหว่างพ.ศ. 2535-2564. พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(2), 25–45. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/361
บท
Articles