กระแสตอบรับของผู้รับสารต่อการสื่อสารทางการเมืองในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งปี 2566 ของพรรคก้าวไกล

Main Article Content

พิษณุ เทพทอง
วิทยาธร ท่อแก้ว
กรกช ขันธบุญ
จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติของพรรคก้าวไกล กลุ่มผู้รับสารในกลุ่มเจนเนอเรชัน B X Y และ Z และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองในการรณรงค์หาเสียงของพรรคก้าวไกล 2) พัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและบทเรียนจากการสื่อสารทางการเมืองของพรรคก้าวไกล และ 3) ศึกษากระแสตอบรับหรือทัศนคติของประชาชนผู้รับสารในแต่ละกลุ่มเจนเนอเรชันต่อการสื่อสารทางการเมืองของพรรคก้าวไกล ผลจากการศึกษา พบว่า 1) พรรคก้าวไกลใช้  กลยุทธ์การสื่อสารที่เน้นการมีส่วนร่วมและการโต้ตอบกับประชาชนซึ่งช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับผู้สนับสนุน ในการสื่อสารนโยบายและภาพลักษณ์ผู้สมัครก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการรณรงค์หาเสียงซึ่งครอบคลุมถึงการใช้สื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ 2) พรรคสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน โดยปรับกลยุทธ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้รับสารในแต่ละกลุ่ม ถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและอาจเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับพรรคการเมืองอื่นๆ ในการสื่อสารทางการเมือง และ 3) ความแตกต่างด้านทัศนคติของประชาชนผู้รับสารในแต่ละกลุ่มเจนเนอเรชันในการตอบสนองต่อการสื่อสารทางการเมืองของพรรคก้าวไกล โดยกลุ่มอายุน้อยให้ความสำคัญกับการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลและแนวคิดแบบก้าวหน้า ขณะที่กลุ่มอายุมากยังคงพึ่งพาสื่อดั้งเดิมและเน้นความมั่นคงด้านสุขภาพและด้านการเงิน

Article Details

How to Cite
เทพทอง พ., ท่อแก้ว ว. ., ขันธบุญ ก. . ., & สุทธิวรเศรษฐ์ จ. . (2024). กระแสตอบรับของผู้รับสารต่อการสื่อสารทางการเมืองในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งปี 2566 ของพรรคก้าวไกล. พัฒนวนัมรุง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(2), 68–94. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPWBRU/article/view/1155
บท
Articles