ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเพิ่มความสนใจทางด้านการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์
คำสำคัญ:
การแนะแนว, ชุดกิจกรรมแนะแนว, ความสนใจทางด้านการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสนใจทางด้านการเรียนก่อนและหลังการทดลองการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ (2) เพื่อเพิ่มความสนใจทางด้านการเรียนให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนทั้งสิ้น 36 คน เป็นกลุ่มทดลอง ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แบบประเมินด้านความสนใจทางด้านการเรียน (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เพิ่มความสนใจทางด้านการเรียนทั้งหมด 6 กิจกรรม (3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า (1) หลังจากการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวนักเรียนมีความสนใจทางด้านการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเพิ่มความสนใจทางด้านการเรียน นักเรียนมีความสนใจทางด้านการเรียนเพิ่มขึ้น
References
กาญจนา น้อยวิมล. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวส่งเสริมด้านการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3. (วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
กุลิสรา จิตรชญาวณิช และคณะ. (2566). วิธีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จริยา ตาลปั้น. (2566). การใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความมีระเบียบวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์. (ภาคนิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).
ฐิติพรรณ ศิริเลิศ. (2565). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2565 (น.23-34). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ดุสิต วันวัย. (2562). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริงสร้างจิตจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ. (วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
ทิศนา แขมมณี. (2566). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2566). การเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัทนา เกษมจิต, กรกฎา นักคิ้ม, มฤษฎ์ แก้วจินดา. (2564). ผลการใช้กิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบ เพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร). ในวารสาร มจร. บุรีรัมย์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2564.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
ศิริพร วรรธนาศรี. (2563). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการปรับตัวของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอุทัยวิทยาคม จังหวัดอุทัยธานี. (วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
อัมพร พะนิจรัมย์. (2558). การเปรียบเทียบทักษะการใช้เทคโนโลยีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการสืบค้น
ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และความสนใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
ที่ได้รับรูปแบบการเรียนการสอนทางตรงกับการสอนปกติ. (วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).
อาภากร เสือเนียม. (2565). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาจีนของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา จังหวัดระยอง. ใน วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2566 (น.87-101). ลพบุรี:
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.